กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12647
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.advisorผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์
dc.contributor.authorดุษฎี เล็บขาว
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2024-01-25T08:46:50Z
dc.date.available2024-01-25T08:46:50Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12647
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่น 3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 1,031 คน ใช้ในการศึกษาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ 2 คัดเลือกจากนักเรียนที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนเชาวน์สังคมตั้งแต่เปอร์เซนไทล์ที่ 50 ลงมา จำนวน 20 คนและสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับการพัฒนาเชาวน์สังคมโดยใช้รูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ ดำเนินการปรึกษากลุ่มจำนวน 10 ครั้ง ๆ ละ 90 นาที เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ติดต่อกัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามแนวทางปกติของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดเชาวน์สังคมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดโดยสูตรสัมประสิทธ์อัลฟ่า (α-Coefficient reliability) เท่ากับ 0.82 และรูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .60-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เชาวน์สังคมนักเรียนวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.35, SD = .39) มีองค์ประกอบด้านความร่วมรู้สึกอย่างแท้จริง ด้านการเอื้ออำนวยในสังคมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเชาวน์สังคมเท่ากับ 3.46 และ 3.41 ตามลำดับ ด้านการตระหนักรู้สถานการณ์ ด้านการแสดงตน ด้านการนำเสนอตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเชาวน์สังคมเท่ากับ 3.37, 3.35 และ 3.33 ตามลำดับ 2. รูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่น พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีและเทคนิคต่าง ๆ ของการปรึกษากลุ่ม ประกอบด้วย ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีเกสตัลท์ ทฤษฎีเน้นบุคคลเป็นศูนย์กลาง ทฤษฎีการวิเคราะห์การสื่อสาร ทฤษฎีการเผชิญความจริง ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม โดยขั้นตอนการปรึกษาประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือขั้นนำ ขั้นดำเนินการ และขึ้นสรุป 3. เชาวน์สังคมนักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการมีค่าเฉลี่ยคะแนนเชาวน์สังคมเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เชาวน์สังคมนักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการมีค่าเฉลี่ยคะแนนเชาวน์สังคมระยะหลังการทดลองและหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวืทยาการปรึกษา
dc.subjectวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.subjectความฉลาดทางสังคม
dc.subjectนักเรียน -- การให้คำปรึกษา
dc.titleการพัฒนาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่นโดยการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ
dc.title.alternativeThe development of dolescent students’ socil intelligence through integrtive group counseling model
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1) to study of adolescent students ‘s social intelligence. 2) to develop an integrative group counseling model for enhancement of social intelligence, and 3) to evaluate the effectiveness of the integrative group counseling model for the enhance of social intelligence. The samples of this study were divided into 2 groups. The first group of social intelligence study consist of 1,031 adolescent students in the province of Khonkaen, Karasin, Buriram and Srisaket,. Those were selected by multi-stage sampling from population. The second group of the study was 20 adolescent students from Srisaket province whose social intelligence score lower than 50th percentile and volunteered to attend the experiment. They were randomly assigned into two groups, classified as an experiment group and control group. Each group consisted of 10 older persons. The experiment group participated in integrative group counseling model while the control group did not receive any counseling. The research instruments were 1) a social intelligence scale with the coefficient reliability (α-Coefficient) of 0.82 its construct validity and confirmed through factor analysis and 2) the integrative group counseling model for the enhancement of social intelligence with the IOC range from .60-1.00. The research results were as follows: 1. The total mean score and each dimension score of social intelligence: empathic accuracy and social facility were high while the mean score of situation awareness, presence and self-presentation were average. 2. The integrative group counseling model for enhancing of social intelligence was developed from the concepts and techniques of group counseling theories. These group counseling theories were Behavior group counseling, Gestalt group counseling, Person-centred group counseling, Transactional Analysis group counseling, Reality group counseling and Constructivism Learning Theory. This model included initial stage, working stage, and termination stage. 3. The social intelligence of the experimental group after participating in the integrative group counseling model and after the follow-up were significantly higher than before the experiment at .05 level. 4. The social intelligence of the experimental group after participating in the integrative group counseling model and after the follow-up were significantly higher than that of the control group at .05 level.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineจิตวืทยาการปรึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf7.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น