กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12642
ชื่อเรื่อง: การพยากรณ์ประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effectiveness prediction to promote reding disposition of lower secondry students under Burirm Primry Eductionl Service Are, Office 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัยพจน์ รักงาม
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
เอมมิกา วัชรสุทธิพงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: Humanities and Social Sciences
ความสนใจในการอ่าน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
การส่งเสริมการอ่าน
การอ่านขั้นมัธยมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียน ด้านการส่งเสริมการอ่านจากกลุ่มครอบครัว ด้านการส่งเสริมการอ่านจากกลุ่มเพื่อน ด้านการส่งเสริมการอ่านจากครูและโรงเรียนกับประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 364 คนเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตอนที่ 1 และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตอนที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยรวมและรายด้าน พบว่า ทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 2. ประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยรวมและรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนกับประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. สมการพยากรณ์ที่ดีที่สุดของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการอ่านจากกลุ่มครอบครัว และด้านการส่งเสริมการอ่านจากครูและโรงเรียน สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยรวม ได้ร้อยละ 58.9 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Y = 1.116 + .640 (X3) + .130 (X1) Z = .682 (Z3) + .144 (Z1)"
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12642
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น