กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12631
ชื่อเรื่อง: รูปแบบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The model of technology ledership of secondry school principls under the office of Office of Bsic Eduction Commission, Ministry of Eduction
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์
ธ ธง พวงสุวรรณ
ธนกฤต พราหมน์นก
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: Humanities and Social Sciences
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
ผู้นำทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบด้านภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีและตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบทางทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกใช้การสังเคราะห์หลักการทฤษฎีและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ระยะที่สองใช้เทคนิคเดลฟาย เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ระยะที่สาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1,350 คน แล้วใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบจากข้อมูลเชิงประจักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามของเทคนิคเดลฟาย 3 รอบ และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงประจักษ์จากผู้บริหารโรงเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Inter quartile range) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factors analysis) โดยใช้โปรแกรม AMOS สรุปผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย 1) มีความรู้ทางเทคโนโลยี 2) มีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน 3) มีการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร 4) มีการสนับสนุน การจัดการ และการดำเนินการ 5) มีการใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและการประเมินผล 6) มีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี 7) มีการเปลี่ยนแปลง การใช้เทคโนโลยี 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า องค์ประกอบที่ได้จากการวิจัยเดลฟายมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไคสแควร์ เท่ากับ 272.48 ที่องศาอิสระ 92 ค่า CMIN/ DF เท่ากับ 2.961 ค่าดัชนี RMSEA เท่ากับ 0.038 ค่าดัชนี GFI เท่ากับ 0.982 ค่าดัชนี AGFI เท่ากับ 0.954 ค่าดัชนีเชิงเปรียบเทียบ NFI เท่ากับ 0.994 ค่าดัชนี CFI เท่ากับ 0.996 แสดงว่าโมเดลมีความเหมาะสม คือ โมเดลภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตามทฤษฎีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้างสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12631
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น