กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12631
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์
dc.contributor.advisorธ ธง พวงสุวรรณ
dc.contributor.authorธนกฤต พราหมน์นก
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2024-01-25T08:46:47Z
dc.date.available2024-01-25T08:46:47Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12631
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบด้านภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีและตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบทางทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกใช้การสังเคราะห์หลักการทฤษฎีและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ระยะที่สองใช้เทคนิคเดลฟาย เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ระยะที่สาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1,350 คน แล้วใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบจากข้อมูลเชิงประจักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามของเทคนิคเดลฟาย 3 รอบ และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงประจักษ์จากผู้บริหารโรงเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Inter quartile range) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factors analysis) โดยใช้โปรแกรม AMOS สรุปผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย 1) มีความรู้ทางเทคโนโลยี 2) มีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน 3) มีการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร 4) มีการสนับสนุน การจัดการ และการดำเนินการ 5) มีการใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและการประเมินผล 6) มีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี 7) มีการเปลี่ยนแปลง การใช้เทคโนโลยี 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า องค์ประกอบที่ได้จากการวิจัยเดลฟายมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไคสแควร์ เท่ากับ 272.48 ที่องศาอิสระ 92 ค่า CMIN/ DF เท่ากับ 2.961 ค่าดัชนี RMSEA เท่ากับ 0.038 ค่าดัชนี GFI เท่ากับ 0.982 ค่าดัชนี AGFI เท่ากับ 0.954 ค่าดัชนีเชิงเปรียบเทียบ NFI เท่ากับ 0.994 ค่าดัชนี CFI เท่ากับ 0.996 แสดงว่าโมเดลมีความเหมาะสม คือ โมเดลภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตามทฤษฎีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้างสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.subjectภาวะผู้นำทางการศึกษา
dc.subjectผู้นำทางการศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
dc.titleรูปแบบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
dc.title.alternativeThe model of technology ledership of secondry school principls under the office of Office of Bsic Eduction Commission, Ministry of Eduction
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were ; to study factors of technology leadership and to confirm the congruence of theoretical model of technology leadership with the empirical data from secondary school principals under the Office of Basic Education Commission, Ministry of Education. The research methodology consisted of 3 phases The first phase was conduct in theoretical synthesis and interviewing 5 experts, the second phase was Delphi technique process collecting data with 21 specialists ; and the third phase was quantitative data collection from 1350 school principals. The using Confirmatory Factors Analysis was performed to confirm the congruence of theoretical model of technology leadership of school principals. The statistical devices were mean, standard deviation, median, inter quartile range and Confirmatory Factors Analysis using AMOS program. The result were that: 1. Technology Leadership of secondary school principals under the Office of Basic Education Commission, Ministry of Education consisted of the following factors; 1) Having Knowledge of Information Technology 2) using Information Technologies in teaching - learning activities, 3) using Information Technology in school administration 4) Encouraging and supporting Information Technology in management and operation 5) using Information Technology in evaluation and measurement 6) Commitment to Information Technology Ethics in application 7) Situational Change of Information Technology utilization. 2. The Confirmatory Factors Analysis indicated that the theoretical model from Delphi Technique was consent with empirical data with value of 272.448 with degree of freedom at 92, CMIN DF = 2.961, RMSEA = 0.038, GFI = 0.982, AGFI = 0.954, NFI = 0.994, CFI = 0.996. It indicated that The models of Technology Leadership of secondary school principals under the Office of Basic Education Commission, Ministry of Education, which was constructed by researcher was structural valida with the empirical data.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น