กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12620
ชื่อเรื่อง: การประเมินโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะของเทศบาลตำบลมะขามคู่อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An ssessment on the project encourges community to prticipte in solid wste seprtion of mkhmkhu municiplity, nikhompttn district, ryong province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์
ศิริลักษณ์ บัวศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การคัดแยกขยะ -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
Humanities and Social Sciences
ขยะ
ขยะ -- การจัดการ
การคัดแยกขยะ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ขยะเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนเป็นแหล่งโรคและเหตุรำคาญส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และภาพลักษณ์ของชุมชน เป็นปัญหาในการจัดเก็บและกำจัด ซึ่งเป็นภาระหนักของเทศบาลที่มีขยะเพิ่มมากขึ้น จึงมีการรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ นำขยะ บางส่วนไปใช้ประโยชน์เทศบาลตำบลมะขามคู่ อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยองได้ทำโครงการดังกล่าวขึ้น การศึกษาครั้งนี้ จึงต้องการประเมินผลโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่บ้านเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนและหลังดำเนินโครงการกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน หรือตัวแทนที่รับผิดชอบการจัดการขยะในครัวเรือน 240 คน ซึ่งสุ่มมาจากประชาชนในเขตเทศบาลตำบลมะขามคู่ข้อมูลเก็บด้วยการส่งแบบสอบถามให้ตอบที่บ้านและรอรับกลับ และข้อมูลปริมาณขยะ เก็บด้วยการชั่งน้ำหนักขยะจากถังขยะที่เทศบาลวางไว้ให้ 112 จุด ในเวลา 7 วัน (วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์) ข้อมูลนำมาวิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมการคัดแยกขยะกับเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดด้วย One sample t-test และเปรียบเทียบปริมาณขยะระหว่างก่อนกับหลังดำเนินโครงการด้วย paired t- test ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนที่ศึกษาส่วนมากเป็นตัวแทนที่รับผิดชอบการจัดการขยะ (66.2%) เพศหญิง (65.0%) อายุเฉลี่ย 42.8 ± 13.4 ปีจบการศึกษาสูงสุดไม่เกินมัธยมศึกษาตอนต้น (57.6%) มีอาชีพรับจ้าง หรือเกษตรกรรม (40.0, 22.9%) มีความรู้เฉลี่ยร้อยละ 65.1 ซึ่งต่ำากว่าเป้าหมายที่กำหนด (มากกว่า 80%) มีพฤติกรรมคัดแยกขยะเฉลี่ยร้อยละ 82.0 ซึ่งเท่ากับเป้าหมายที่กำหนด (มากกว่า 80%) หลังดำเนินโครงการ มีขยะลดปริมาณลงจากสัปดาห์ละ 113 ตัน เหลือ 69 ตัน ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 โดยเฉพาะขยะอินทรีย์พลาสติก และกระดาษ ส่วนขยะเปียกลดลง แต่ไม่มีนัยสำคัญ แสดงว่า การรณรงค์ลดปริมาณขยะด้วยการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ทำให้ขยะที่เทศบาลจัดเก็บได้ลดปริมาณลง ดังนั้น จึงควรดำเนินโครงการนี้ต่อไป และส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะเห็นประโยชน์และคุณค่าของการคัดแยกขยะให้มากขึ้น
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12620
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น