กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12620
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ | |
dc.contributor.author | ศิริลักษณ์ บัวศรี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-25T08:46:45Z | |
dc.date.available | 2024-01-25T08:46:45Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12620 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 | |
dc.description.abstract | ขยะเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนเป็นแหล่งโรคและเหตุรำคาญส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และภาพลักษณ์ของชุมชน เป็นปัญหาในการจัดเก็บและกำจัด ซึ่งเป็นภาระหนักของเทศบาลที่มีขยะเพิ่มมากขึ้น จึงมีการรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ นำขยะ บางส่วนไปใช้ประโยชน์เทศบาลตำบลมะขามคู่ อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยองได้ทำโครงการดังกล่าวขึ้น การศึกษาครั้งนี้ จึงต้องการประเมินผลโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่บ้านเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนและหลังดำเนินโครงการกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน หรือตัวแทนที่รับผิดชอบการจัดการขยะในครัวเรือน 240 คน ซึ่งสุ่มมาจากประชาชนในเขตเทศบาลตำบลมะขามคู่ข้อมูลเก็บด้วยการส่งแบบสอบถามให้ตอบที่บ้านและรอรับกลับ และข้อมูลปริมาณขยะ เก็บด้วยการชั่งน้ำหนักขยะจากถังขยะที่เทศบาลวางไว้ให้ 112 จุด ในเวลา 7 วัน (วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์) ข้อมูลนำมาวิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมการคัดแยกขยะกับเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดด้วย One sample t-test และเปรียบเทียบปริมาณขยะระหว่างก่อนกับหลังดำเนินโครงการด้วย paired t- test ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนที่ศึกษาส่วนมากเป็นตัวแทนที่รับผิดชอบการจัดการขยะ (66.2%) เพศหญิง (65.0%) อายุเฉลี่ย 42.8 ± 13.4 ปีจบการศึกษาสูงสุดไม่เกินมัธยมศึกษาตอนต้น (57.6%) มีอาชีพรับจ้าง หรือเกษตรกรรม (40.0, 22.9%) มีความรู้เฉลี่ยร้อยละ 65.1 ซึ่งต่ำากว่าเป้าหมายที่กำหนด (มากกว่า 80%) มีพฤติกรรมคัดแยกขยะเฉลี่ยร้อยละ 82.0 ซึ่งเท่ากับเป้าหมายที่กำหนด (มากกว่า 80%) หลังดำเนินโครงการ มีขยะลดปริมาณลงจากสัปดาห์ละ 113 ตัน เหลือ 69 ตัน ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 โดยเฉพาะขยะอินทรีย์พลาสติก และกระดาษ ส่วนขยะเปียกลดลง แต่ไม่มีนัยสำคัญ แสดงว่า การรณรงค์ลดปริมาณขยะด้วยการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ทำให้ขยะที่เทศบาลจัดเก็บได้ลดปริมาณลง ดังนั้น จึงควรดำเนินโครงการนี้ต่อไป และส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะเห็นประโยชน์และคุณค่าของการคัดแยกขยะให้มากขึ้น | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การคัดแยกขยะ -- การมีส่วนร่วมของประชาชน | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.subject | Humanities and Social Sciences | |
dc.subject | ขยะ | |
dc.subject | ขยะ -- การจัดการ | |
dc.subject | การคัดแยกขยะ | |
dc.title | การประเมินโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะของเทศบาลตำบลมะขามคู่อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง | |
dc.title.alternative | An ssessment on the project encourges community to prticipte in solid wste seprtion of mkhmkhu municiplity, nikhompttn district, ryong province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Garbage or solid waste is a public health issue affecting people’s health. It is source of nuisance and disorder affect quality of life and the image of the community. The garbage management is the problem of storage and disposal that the heavy load of municipality, waste has increased. For this reason, Makhamkhu Municipality was developed the project encourages community to participate in solid waste separation to promote people awareness about waste separation. In this study was to assess this project by comparing the effects between before and after project implementation. The sample was people who were household head or the representative in disposal of household waste, 240 people who randomly selected from the population in that Municipality, Nikhompattana district of Rayong province. Data were collected by sending a questionnaire to answer and get back at home, and the amount of waste were collected by weighing from the waste bins placed at 112 points in seven day (Monday to Sunday). Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, comparing the knowledge and behavior of the waste separation with the goal set by One sample t-test and comparing the amount of waste before and after implementation of the project by paired t-test. The study indicated that people were participated, most of them were the representative in disposal of household waste (66.2%), were female (65.0%), mean age42.8 ± 13.4 years, graduated up to junior high school (57.6%), were employee or agriculture (40.0, 22.9%). They had knowledge about waste separation in an average score 65.1 percent, lower than the target (Over than 80%), but had belief about waste separation in an average score 82.0 percent, which equated to the target (Over than 80%), After the project implementation, solid waste was reduced from 113 ton to 69 ton per week which was statistically significant lower at .05, especially organic waste, plastic, paper, but the wet waste was not reduced significantly. It shown that the project campaign to reduce the amount of waste by the people participation in waste separation was achievement a certain level to make municipal garbage reduced. Therefore, this project should be work further for reducing solid waste and reducing a work load in storage and disposal garbage of municipality | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | สาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น