กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1234
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนากรรมวิธีการผลิตขลู่ผงพร้อมใช้งาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Process development of ready to use indian marsh fleabane power |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สิริมา ชินสาร วิชมณี ยืนยงพุทธกาล นิสานารถ กระแสร์ชล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การอบแห้ง ขลู่ผง สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการเตรียมขั้นตอน วิธีการในการทำแห้ง ขนาดอนุภาค และชนิดของบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพของขลู่ ขั้นตอนแรกเป็นการศึกษาผลของวิธีการเตรียมขั้นตอนที่แตกต่างกัน 3 วิธี คือ ไม่มีการเตรียมขั้นตอน (ตัวอย่างควบคุม) การลวกในน้ำ และการลวกในสารละลายแมกนีเซียมคาร์บอเนต ความเข้มข้น 0.06% ต่อคุณภาพของขลู่ผง พบว่า วิธีการเตรียมขั้นต้นมีผลต่อค่าสี (ค่า a* และ b*) ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและคะแนนความเข้มด้านสีเขียวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่มีผลต่อคะแนนความเข้มด้านกลิ่นรส (p<0.05) โดยวิธีการเตรียมขั้นต้นที่เหมาะสมคือ การลวกใบขลู่ในสารละลายแมกนีเซียมคาร์บอเนต ซึ่งทำให้ขลู่ผงมีค่าความแตกต่างของสีต่ำสุด และได้รับคะแนนความเข้มด้านสีเขียวสูงที่สุด (p<0.05) ขั้นตอนที่ 2 เป็นการศึกษาผลของวิธีการทำแห้งต่อคุณภาพของขลู่ผง โดยแปรวิธีการในการทำแห้ง 4 วิธี คือ การอบแห้งด้วยตู้อบสุญญากาศการอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อน การคั่วใบขลู่ร่วมกับการอบแห้งด้วยตู่อบสุญญากาศ และการคั่วใบขลู่ร่วมกับการอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อน ผลการทดลองพบว่า การคั่วใบขลู่ร่มกับการอบแห้งด้วยตู้อบสุญญากาศทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ขลู่ผงที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีอื่น ๆ โดยมีค่า (7.18)ต่ำที่สุด แต่มีค่าความเป้นสีเขียว (-4.72) ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก (121.80 mg GAE/g dry matter) และเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอนุมูลอิสระ (88.58%) สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) น้ำชาที่ได้ได้รับคะแนนความชอบด้านกลิ่นรสสูงที่สุดในระดับชอบปานกลาง ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลของขนาดอนุภาค ผ50 60 70 และ 80 เมช) ต่อคุณภาพของขลู่ผง พบว่า ขนาดอนุภาคมีผลต่อค่าสี (L8 และ b*) ความสามารถในการละลาย และคะแนนความชอบด้านสีและกลิ่นรสแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่มีผลต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และคะแนนความชอบด้านกลิ่นและความชอบโดยรวม (p>0.05) ดดยขนาดอนุภาคที่เหมาะสมคือ อนุภาคขนาด 80 เมช ซึ่งทำให้ขลู่ผงมีความสามารถในการละลายสุงที่สุด (p<0.05) ขั้นตอนสุดท้าย เป้นการศึกษาผลของชนิดของบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพของขลู่ผงระหว่างการเก็บรักษา โดยการเก็บรักษาขลู่ผงในบรรจุภัณฑ์ 2 ชนิดคือ ถุงพลาสติกใสชนิดโพลิโพรพิลีนแบบหนาปิดผนึก และถุงอะลูมิเนียมฟอยด์ลามิเนตปิดผนึก ที่อุณหภูมิห้อง เป้นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ชนิดของบรรจุภัณฑ์มีผลต่อปริมาณความชื้น ค่าสี L* a* และค่า Water activity (aw) ของขลู่ผงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ภายหลังการเก็บรักษาเป้นเวลา 2 สัปดาห์ โดยถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ลามิเนต สามารถรักษาคุณภาพของขลู่ผงได้ดีกว่าถุงพลาสติกใสชนิดโพลิโพรพิลีน |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1234 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น