กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/109
ชื่อเรื่อง: ทัศนคติที่มีต่อผู้สูงอายุของนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาหลักในเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Attitudes toward older persons of secondary school students studying at principal secondary schools of Eastern Seaboard Development Project Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุจินดา ม่วงมี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียนมัธยมศึกษา - - ทัศนคติ - - วิจัย
ผู้สูงอายุ - - ไทย - - วิจัย
โรงเรียนมัธยมศึกษา - - นักเรียน - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2540
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง (ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มชั้นเรียนและสุ่มรายบุคคลตามเลขประจำตัวของนักเรียนในแต่ละกลุ่มที่สุ่มได้) มีจำนวน 1,440 คน เป็นนักเรียนที่ศึกษาอยู่ระหว่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ระดับชั้นละ เพศละ 40 คน) ของโรงเรียนมัธยมหลักของสามจังหวัดในเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา รวมจังหวัดละ 480 คน แบบสอบถาม "The Aging Semantic Differential-ASD" ของ Rosencranz and McNevin ซึ่งได้แปลเป็นภาษาไทยและให้ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบแล้ว ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าเฉลี่ยของทัศนคิติรวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด แยกตามระดับชั้นและแยกตามเพศ นอกจากนั้นข้อมูลที่ได้ยังถูกนำมาวิเคราะห์หาความแตกต่างในทัศนคติเป็นรายข้อระหว่างเพศ โดยใช้ t-test และกลุ่มชั้นเรียน (มัธยมศึกษาปีที่ 1,2,3,4,5, และ 6) โดยใช้วิธีวิเคราะห์และแปรปรวนทางเดียว และหากพบความแตกต่างได้ใช้ L.S.D. (Least Significant Difference) เพื่อตรวจสอบดูความแตกต่างนั้นว่าเกิดขึ้นในกลุ่มชั้นเรียนใด ผลการวิจัยพบว่าโดยรวม ๆ แล้ว ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อผู้สูงอายุเอนเอียงไปในทางบวกเล็กน้อย (x=3.49 เมื่อเทียบจากค่า 1 คือบวกมากที่สุดและ 7 คือ ลบมากที่สุด) ทัศนคติในทางบวกมากที่สุด 2 รายการคือ "ผู้สูงอายุมีความเป็นมิตร" และ "ผู้สูงอายุเป็นคนเชื่อถือได้" โดยมีค่าเฉลี่ย 2.28 และ 2.40 ตามลำดับ ส่วนทัศนคติในทางลบมากที่สุด 2 รายการคือ "ผู้สูงอายุเป็นคนโบราณ-ไม่ทันสมัย"และ"เป็นผู้อนุรักษ์นิยมแทนที่จะเป็นคนหัวสมัยใหม่" ด้วยค่าเฉลี่ย 5.44 และ 5.37 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยแยกตามเพศชาย-หญิง พบว่านักเรียนหญิงมีทัศนคติในทางบวกต่อผู้สูงอายุมากว่านักเรียนชาย (p<0.01) เมื่อพิจารณาแยกตามระดับชั้นเรียนพบว่าทัศนคติของนักเรียนทุกระดับไม่แตกต่างกันใน 22 ข้อ (จากทั้งหมด 32 ข้อ) ถึงแม้ว่าข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ในการวิจัยครั้งนี้จะไม่สามารถบ่งชี้ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของนักเรียนซึ่งเป็นส่วนหนี่งของเด็กและคนหนุ่มสาวในระยะหลังนี้ได้ เพราะยังไม่มีการศึกษาวิจัยในลักษณะเดียวกันในขอบเขตของทัศนคติเช่นเดียวกันมาก่อน แต่เมื่อพิจารณารายงานการวิจัยในเกี่ยวกับค่านิยมและการปฏิบัติของคนหนุ่มสาวไทยที่มีต่อผู้สูงอายุ จะพบว่าค่านิยมอย่างหนึ่งคือ การเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโส ซึ่งรวมถึงผู้สูงอายุได้เสื่อมถอยลงไปมาก ทำให้น่าคิดว่าอาจเนื่องมาจากการมีทัศนคติต่อผู้สูงอายุอาจลดลงมาเหลือเพียง "มีความเป็นบวกเล็กน้อย" ดังได้กล่าวแล้วก็เป็นได้ จึ่งสามารถสรุปได้ในการวิจัยครั้งนี้ว่า ณ เวลานี้ทัศนคติของนักเรียนที่ศึกษาที่มีต่อผู้สูงอายุนั้นอยู่ในระดับ "มีความเป็นบวกเล็กน้อย" สังคมของเราน่าจะต้องไม่พอใจในทัศนคติระดับดังกล่าว แต่น่าจะพยายามหาทางปรับปรุงทัศนคติของคนหนุ่มสาวที่มีต่อผู้สูงอายุให้มีความเป็นบวกมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะว่าการศึกษาวิจัยในลักษณะเช่นนี้ควรกระทำเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงในทัศนคติของคนหนุ่มสาว หากพบว่ามีแนวโน้มจะมีความเป็นบวกน้อยลงหรือเป็นทางลบมากขึ้น จะได้หาวิธีการโดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น กระบวนการการศึกษา เข้าช่วยเพื่อเรียกทัศนคติที่ดีให้กลับมาอยู่กับเด็กและคนหนุ่มสาว ซึ่งจะต้องมีบทบาทหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ ไม่ในระดับครอบครัวก็ในระดับสังคมต่อไปในอนาคต
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/109
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2540_002.pdf2.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น