กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/109
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุจินดา ม่วงมี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:45:48Z
dc.date.available2019-03-25T08:45:48Z
dc.date.issued2540
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/109
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง (ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มชั้นเรียนและสุ่มรายบุคคลตามเลขประจำตัวของนักเรียนในแต่ละกลุ่มที่สุ่มได้) มีจำนวน 1,440 คน เป็นนักเรียนที่ศึกษาอยู่ระหว่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ระดับชั้นละ เพศละ 40 คน) ของโรงเรียนมัธยมหลักของสามจังหวัดในเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา รวมจังหวัดละ 480 คน แบบสอบถาม "The Aging Semantic Differential-ASD" ของ Rosencranz and McNevin ซึ่งได้แปลเป็นภาษาไทยและให้ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบแล้ว ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าเฉลี่ยของทัศนคิติรวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด แยกตามระดับชั้นและแยกตามเพศ นอกจากนั้นข้อมูลที่ได้ยังถูกนำมาวิเคราะห์หาความแตกต่างในทัศนคติเป็นรายข้อระหว่างเพศ โดยใช้ t-test และกลุ่มชั้นเรียน (มัธยมศึกษาปีที่ 1,2,3,4,5, และ 6) โดยใช้วิธีวิเคราะห์และแปรปรวนทางเดียว และหากพบความแตกต่างได้ใช้ L.S.D. (Least Significant Difference) เพื่อตรวจสอบดูความแตกต่างนั้นว่าเกิดขึ้นในกลุ่มชั้นเรียนใด ผลการวิจัยพบว่าโดยรวม ๆ แล้ว ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อผู้สูงอายุเอนเอียงไปในทางบวกเล็กน้อย (x=3.49 เมื่อเทียบจากค่า 1 คือบวกมากที่สุดและ 7 คือ ลบมากที่สุด) ทัศนคติในทางบวกมากที่สุด 2 รายการคือ "ผู้สูงอายุมีความเป็นมิตร" และ "ผู้สูงอายุเป็นคนเชื่อถือได้" โดยมีค่าเฉลี่ย 2.28 และ 2.40 ตามลำดับ ส่วนทัศนคติในทางลบมากที่สุด 2 รายการคือ "ผู้สูงอายุเป็นคนโบราณ-ไม่ทันสมัย"และ"เป็นผู้อนุรักษ์นิยมแทนที่จะเป็นคนหัวสมัยใหม่" ด้วยค่าเฉลี่ย 5.44 และ 5.37 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยแยกตามเพศชาย-หญิง พบว่านักเรียนหญิงมีทัศนคติในทางบวกต่อผู้สูงอายุมากว่านักเรียนชาย (p<0.01) เมื่อพิจารณาแยกตามระดับชั้นเรียนพบว่าทัศนคติของนักเรียนทุกระดับไม่แตกต่างกันใน 22 ข้อ (จากทั้งหมด 32 ข้อ) ถึงแม้ว่าข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ในการวิจัยครั้งนี้จะไม่สามารถบ่งชี้ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของนักเรียนซึ่งเป็นส่วนหนี่งของเด็กและคนหนุ่มสาวในระยะหลังนี้ได้ เพราะยังไม่มีการศึกษาวิจัยในลักษณะเดียวกันในขอบเขตของทัศนคติเช่นเดียวกันมาก่อน แต่เมื่อพิจารณารายงานการวิจัยในเกี่ยวกับค่านิยมและการปฏิบัติของคนหนุ่มสาวไทยที่มีต่อผู้สูงอายุ จะพบว่าค่านิยมอย่างหนึ่งคือ การเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโส ซึ่งรวมถึงผู้สูงอายุได้เสื่อมถอยลงไปมาก ทำให้น่าคิดว่าอาจเนื่องมาจากการมีทัศนคติต่อผู้สูงอายุอาจลดลงมาเหลือเพียง "มีความเป็นบวกเล็กน้อย" ดังได้กล่าวแล้วก็เป็นได้ จึ่งสามารถสรุปได้ในการวิจัยครั้งนี้ว่า ณ เวลานี้ทัศนคติของนักเรียนที่ศึกษาที่มีต่อผู้สูงอายุนั้นอยู่ในระดับ "มีความเป็นบวกเล็กน้อย" สังคมของเราน่าจะต้องไม่พอใจในทัศนคติระดับดังกล่าว แต่น่าจะพยายามหาทางปรับปรุงทัศนคติของคนหนุ่มสาวที่มีต่อผู้สูงอายุให้มีความเป็นบวกมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะว่าการศึกษาวิจัยในลักษณะเช่นนี้ควรกระทำเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงในทัศนคติของคนหนุ่มสาว หากพบว่ามีแนวโน้มจะมีความเป็นบวกน้อยลงหรือเป็นทางลบมากขึ้น จะได้หาวิธีการโดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น กระบวนการการศึกษา เข้าช่วยเพื่อเรียกทัศนคติที่ดีให้กลับมาอยู่กับเด็กและคนหนุ่มสาว ซึ่งจะต้องมีบทบาทหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ ไม่ในระดับครอบครัวก็ในระดับสังคมต่อไปในอนาคตth
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจากมหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษา - - ทัศนคติ - - วิจัยth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ - - ไทย - - วิจัยth_TH
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา - - นักเรียน - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัยth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleทัศนคติที่มีต่อผู้สูงอายุของนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาหลักในเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeAttitudes toward older persons of secondary school students studying at principal secondary schools of Eastern Seaboard Development Project Areaen
dc.typeResearchth_TH
dc.year2540
dc.description.abstractalternativeA study was carried out to study secondary school students' attitudes toward older persons (60+ years). The sample (N=1,440) included equal number of males and females Mattayom 1-6 (Grade 7-12) students studying at principal secondary schools of Chonburi, Rayong and Chachoengsao provinces where is the center of Eastern Seaboard Development Project area. Thus each province was represented by 480 (240 male and 240 female) student subjects. The rating-scale-type Rosencranz and McNevin Aging Semantic Differential-ASD,translated into Thai,was used for data collection. Data was analyzed for means and standard deviations of the whole group and also based upon gender and class levels. Student t-test was used to find any differences between gender means. ANOVA was used to analyze the differences among the means of class levels. If such a difference existed then L.S.D. was employed to find where the difference was. It was found that in general the attitudes of these young persons toward the old was slightly positive (X=3.49-if one is fully positive and seven is totally negative). The two most positive attitudes were "friendliness" and "trustfulness" with the mean values of 2.28 and 2.40 respectively. However, being "old fashioned" (x=5.44) and "conservative" (x=5.37) were the two most negative attitudes. Furthermor, it was found the female students showed more positive attitude toward the old than their male counterparts (p<0.01). In addition, the subject group showed rather a uniform attitude since their attitude was not statistically different in 22 out of 32 items. Since no research of similar type was previously carried out , a trend of recent attitude change among the young Thais toward the old could not be seen. However, some recent studies on somes social values concerning the aged showed and interesting point which might has a connection with "attitude" when it was found that seniority, a respect of the order person and the way the youngs treat the older which is traditionally strong and in a positive way in the Thai custom, were deteriorating. With this in mind it may be possible that such the phenomenon occurred as a result of a decreasing positive attitude to the level of "slightly positive" found in the present study. Thus the only sound conclusion the could be made from the existing data of this study was that, in general, the present attitudes toward older persons was "slightly positive" This is not something to be satisfied with , instead,we should find ways to make such attitudes to become more positive. Finally, it was suggested that the study of this type should be conducted at a regular interval to monitor an attitude change among the younger generations. Any time when it is to be found that a change in attitude is directed toward a negative end, appropriated measures,i.e. through education , could be used to call back more positive attitudes toward the old among the younger generatious.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2540_002.pdf2.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น