กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1074
ชื่อเรื่อง: | สถานการณ์ ปัญหา ความต้องการ และพลังอำนาจของญาติผู้ดูแลเด็กป่วยเรื้อรังที่บ้าน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evidence, problems, needs, and empowerment in family caregiver of chronically III children |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จินตนา วัชรสินธุ์ มณีรัตน์ ภาคธูป ทวีลาภ ตั๊นสวัสดิ์ นฤมล ธีระรังสิกุล ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ กมลทิพย์ ด่านชัย มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การดูแลสุขภาพ การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - - การดูแล ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหา ความต้องการการสนับสนุนทางสังคม สัมพันธภาพในครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างญาติผู้ดูแลและผู้ป่วยเด็ก ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล ภาวะสุขภาพ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เพื่อทำนายพลังอำนาจของญาติผู้ดุแลเด็กป่วยเรื้อรังที่บ้าน ในเขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลเด็กป่วยเรื้อรังที่บ้านจำนวน 319 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปของครอบครัว แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม สัมพันธภาพในครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างญาติผู้ดูแลและผู้ป่วยเด็ก ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล ภาวะสุขภาพ ความรู้สึก มีคุณค่าในตนเอง ความต้องการขอญาติผู้ดูแล และพลังอำนาจของญาติผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงด้วยการวิเคราะห์ถดถอย (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า เด็กป่วยด้วยโรคเรื้อรังและพิการด้วยโรคหอบหืดมากที่สุด และโรคที่พบรองลงมาคือโรคธาลัสซีเมีย ส่วนใหญ่ผู้ดูแลเป็นมารดาของเด็กป่วย และได้รับการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวอยู่ในระดับมาก มีสัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในระดับดี มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับสูง มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยเด็กอยู่ในระดับปานกลาง มีภาวะสุขภาพอยู่ในระดับดี มีความต้องการของผู้ดูแลอยู่ในระดับปานกลาง มีความรู้สึกเป้นภาระในการดูแลอยู่ในระดับน้อย และมีพลังอำนาจอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่สามารถทำนายพลังอำนาจของผู้ดูแลเด็กป่วยเรื้อรังได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือสัมพันธภาพในครอบครัว ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความสัมพันธ์ระกว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วยเด็ก ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล และความต้องการของผู้ดูแล และสามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรของพลังอำนาจของญาติผู้ดูแลในการดูแลป่วยเรื้อรังได้ร้อยละ 44.5 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1074 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2566_180.pdf | 4.42 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น