กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1037
ชื่อเรื่อง: | การปลูกมันสำปะหลังแบบสลับระหว่างพันธุ์ต้านทาน 2 พันธุ์เพื่อ ควบคุมการเข้าทำลายของโรคและแมลง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Interplanting of tow resistance cassava varieties for controlling diseases and insects in festation in cassava. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ประทีป อูปแก้ว ยุทธจักร วงษ์วัฒนะ บุญชู มั่งคั่ง มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร |
คำสำคัญ: | การปลูกมันสำปะหลัง การปลูกสลับ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา เพลี้ยแป้ง |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โรคและแมลงในมันสำปะหลังเป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรผู้ปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทย การเข้าทำลายของโรคและแมลงทำให้ผลผลิตลดลง การใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้และส่งผลต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งการใช้พันธุ์ต้านทานเป็นวิธีหนึ่งที่ได้ผล เนื่องจากว่าได้มีรายงานว่าการพืชแบบสลับกันจะช่วยลดเข้าทำลายของโรคและแมลงในแปลงได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการควบคุสการเข้าทำลายโรคและแมลงโดยการปลูกแถวสลับพันธุ์มันสำปะหลัง ได้ดำเนินการทดลอง 3 การทดลองระหว่างปี 2553-2555 การทดลองที่1 ประเมินคุณภาพและการแก่งแย่งแข่งขันของการเจริญเติบโตของท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง พบว่าน้ำหนักแห้งของท่อนพันธุ์และน้ำหนักแห้งต้น ใบ และรากที่อายุ 2 เดือนในมันสำปะหลัง 3 พันธุ์แตกต่างกัน ส่วนเปอร์เซนต์ความเข้มข้นของธาตุอาหารในท่อนมันสำปะหลังไม่แตกต่างกัน แต่เปอร์เซนต์ความเข้มข้นของธาตุฟอสฟอรัสแตกต่างกันที่อายุ 2 เดือน การทดลองที่ 2 ประมินการเข้าทำลายของโรคและแมลงต่อปลูกมันสำปะหลังแบบสลับและแบบเดี่ยวที่ใช้พันธุ์มันสำปะหลังที่อัตราส่วนแตกต่างกันในแปลงเกษตรกร พบว่ามีการเข้าทำลายเพลี้ยแป้งในแปลง ส่วนโรคและแมลงอื่นๆ พบเล็กน้อยหรือไม่พบเลย โดยมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง60 ที่ปลูกสลับแบบ1:1 และ 2:2 พบจำนวนเพลี้ยแป้งสีเขียวน้อยกว่ามันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 และระยอง 9 ที่ปลูกเชิงเดี่ยวที่ระยะเก็บเกี่ยว 10 เดือน น้ำหนักผลิตหัวมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์50 และห้วยบง60 ที่ปลูกสลับแบบ 1:1และ 2:2 มากกว่าพันธุ์ห้วยบง และระยอง9 ที่ปลูกเชิงเดี่ยวตามลำดับแต่ไม่แตกต่างกับพันธุ์เกษตรศาสตร์50 ที่ปลูกเชิงเดี่ยว ประสิทธิภาพของการปลูกแบบสลับโดยใช้ค่า LER (Land Equivalent Ratio) พบว่าการปลูกแบบสลับระหว่างพันธุ์เกษตรศาสตร์50 และห้วยบง60 ที่อัตรา1:1 มีค่ามากกว่า1 ในผลผลิตหัวมันสดและมันแห้งที่ระยะเก็บเกี่ยว 10 เดือน การทดลองที่3 ประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรในการต้านทานโรคและแมลงในการปลูกมันสำปะหลังแบบสลับพบว่าเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังพอใจในการต้านทานโรคและแมลงของการปลูกสลับในระดับมากและต้องการปลูกมันสำปะหลังแบบสลับในอัตราส่วน 2:2 จากการศึกษาการปลูกสลับพันธุ์มันสำปะหลังสามารถลดการทำลายของเพลี้ยแป้งและลดความเสียหายของผลผลิตได้ดีกว่าการปลูกมันสำปะหลังเชิงเดี่ยว โดยขึ้นอยู่กับพันธุ์มันสำปะหลังที่ใช้ปลูก ระยะเวลาและความรุนแรงของการเข้าทำลาย |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1037 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น