กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10291
ชื่อเรื่อง: | The effect of pulmonary hypertension on intradialytic hypotension in end-stage renal disease patients |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | ผลของภาวะความดันปอดสูงที่มีต่อภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือดในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | Sukrisd Koowattanatianchai Patchara Kochaiyapatana Raweewan Witoon Thammaporn Kajornsin Akaphol Kaladee |
คำสำคัญ: | Pulmonary hypertension Hemodialysis Chronic renal failure Hypotension Kidneys --Diseases |
วันที่เผยแพร่: | 2020 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือด เป็นปัญหาที่สำคัญในคนไข้ไตวายเรื้อรัง วัตถุประสงค์ของ การศึกษานี้คือเพื่อ ศึกษาผลของภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง ที่มีผลต่อภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือดในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังโดยใช้การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางหน้าอก วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบ Ethiognostic research โดยมีรูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบ Prospective cohort study ซึ่งผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มาฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาจะได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ จากนั้นจะเก็บข้อมูลผู้ป่วยตอนที่มาฟอกเลือดว่ามีภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือดหรือไม่ จากนั้นนำข้อมูลผู้ป่วยทั่วไป ข้อมูลตอนฟอกไต และข้อมูลจากคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือด แบบ univariate และ multivariate logistic regression โดยปัจจัยดังกล่าวจะมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อ p-value น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา จากการศึกษาในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2564 ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจำนวน 35 คนที่ได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ พบว่ามีภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 45.7 ความชุกในการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือดพบร้อยละ 45.8 ผู้ป่วยทั้งหมดมีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่า right ventricular systolic pressure ของกลุ่มที่มีความดันโลหิตต่ำระหว่างฟอกเลือด กับกลุ่มที่ไม่มีความดันโลหิตต่ำระหว่างฟอกเลือด ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ (45.33 ± 11.62 มิลลิเมตรปรอท และ 41.06 ± 13.78 มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ, p = 0.401) การวิเคราะห์แบบ univariate พบว่า เพศหญิง left ventricular mass index การบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย และภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือด แต่การวิเคราะห์แบบ multivariate ไม่มีปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือด แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า เพศหญิง และผู้ป่วยที่มีภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือด โดยดูจากค่า risk ratio ที่ 3.13 และ 2,18 ตามลำดับ สรุปผล ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงมีโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือด เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีความดันหลอดเลือดปอดสูง แต่ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ |
รายละเอียด: | ผลงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จากงบประมาณเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10291 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2567_120.pdf | 354.1 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น