กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10291
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorSukrisd Koowattanatianchai-
dc.contributor.authorPatchara Kochaiyapatana-
dc.contributor.authorRaweewan Witoon-
dc.contributor.authorThammaporn Kajornsin-
dc.contributor.authorAkaphol Kaladee-
dc.date.accessioned2024-01-09T08:43:50Z-
dc.date.available2024-01-09T08:43:50Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10291-
dc.descriptionผลงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จากงบประมาณเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563th_TH
dc.description.abstractภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือด เป็นปัญหาที่สำคัญในคนไข้ไตวายเรื้อรัง วัตถุประสงค์ของ การศึกษานี้คือเพื่อ ศึกษาผลของภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง ที่มีผลต่อภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือดในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังโดยใช้การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางหน้าอก วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบ Ethiognostic research โดยมีรูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบ Prospective cohort study ซึ่งผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มาฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาจะได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ จากนั้นจะเก็บข้อมูลผู้ป่วยตอนที่มาฟอกเลือดว่ามีภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือดหรือไม่ จากนั้นนำข้อมูลผู้ป่วยทั่วไป ข้อมูลตอนฟอกไต และข้อมูลจากคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือด แบบ univariate และ multivariate logistic regression โดยปัจจัยดังกล่าวจะมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อ p-value น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา จากการศึกษาในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2564 ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจำนวน 35 คนที่ได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ พบว่ามีภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 45.7 ความชุกในการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือดพบร้อยละ 45.8 ผู้ป่วยทั้งหมดมีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่า right ventricular systolic pressure ของกลุ่มที่มีความดันโลหิตต่ำระหว่างฟอกเลือด กับกลุ่มที่ไม่มีความดันโลหิตต่ำระหว่างฟอกเลือด ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ (45.33 ± 11.62 มิลลิเมตรปรอท และ 41.06 ± 13.78 มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ, p = 0.401) การวิเคราะห์แบบ univariate พบว่า เพศหญิง left ventricular mass index การบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย และภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือด แต่การวิเคราะห์แบบ multivariate ไม่มีปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือด แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า เพศหญิง และผู้ป่วยที่มีภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือด โดยดูจากค่า risk ratio ที่ 3.13 และ 2,18 ตามลำดับ สรุปผล ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงมีโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือด เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีความดันหลอดเลือดปอดสูง แต่ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติth_TH
dc.description.sponsorshipคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.language.isoen_USth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectPulmonary hypertensionth_TH
dc.subjectHemodialysisth_TH
dc.subjectChronic renal failureth_TH
dc.subjectHypotensionth_TH
dc.subjectKidneys --Diseasesth_TH
dc.titleThe effect of pulmonary hypertension on intradialytic hypotension in end-stage renal disease patientsth_TH
dc.title.alternativeผลของภาวะความดันปอดสูงที่มีต่อภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะฟอกเลือดในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2020th_TH
dc.description.abstractalternativeBackground Intradialytic hypotension (IDH) is an important problem in end stage renal disease (ESRD). The aim of this study was therefore to assess the effect of pulmonary hypertension (PHT) on IDH in ESRD patients using transthoracic echocardiography. Methods In this prospective ethiognostic study, we performed transthoracic echocardiography in ESRD patients in Burapha University hospital, Thailand. After that the hemodialytic flow chart data of patients in the hemodialysis unit was collected to ascertain whether these patients have IDH. The baseline clinical. Hemodialysis profiles and echocardiographic findings were analyzed by univariate predictors of IDH. Multivariate logistic regression was used to identify independent predictors of IDH with a significant p-value < 0.05. Results A total of 35 ESRD patients were studied between June 2020 and March 2021. 16 of them had PHT ( 45.7%) . The prevalence of IDH in this study was 48.5%. All patients exhibited a normal left ventricular ejection fraction. There was no significant difference of RVSP between frequent-IDH group and occasional-IDH group (45.33 ± 11.62 mmHg and 41.06 ± 13.78 mmHg respectively, p = 0.401). In the univariate analysis, female, left ventricular mass index, Left ventricular ejection fraction and PHT were significantly associated with IDH. Results showed that no factors were related to IDH occurrence in the multivariate analysis. Nevertheless, female patients and patients with PHT illustrated a tendency to have IDH. This was evidenced by the risk ratio of female and PHT patients being 3.13 and 2.18 respectively. Conclusions ESRD patients with PHT showed higher tendency of developing IDH during hemodialysis than ESRD patients without PHT. The difference however was not statistically significantth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2567_120.pdf354.1 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น