กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10271
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาปัญหาความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19: กรณีศึกษานิสิตระดับปริญญาตรี สังกัดภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A Study of Problems, Expectation, and Satisfaction towards Online Learning Experiences during the COVID - 19 Pandemic: A Case Study among English Major Students at Burapha University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุลนารี อรรถาปารมี |
คำสำคัญ: | การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ COVID - 19 |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์แพร่ระบาด ของ COVID–19 2) ศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID–19 ของนิสิตระดับปริญญาตรี สังกัดภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 3) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความคาดหวังและความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอบแบบออนไลน์ในสถานการณ์ COVID–19 กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตระดับปริญญาตรี สังกัดภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 274 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหา ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID–19 โดยแบ่งเป็น 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านผู้สอน 2) ด้านเนื้อหาบทเรียน 3) ด้านระบบการจัดการเรียนรู้ 4) ด้านระบบการติดต่อสื่อสาร 5) ด้านคุณภาพของเครื่องมือและสื่อการสอน 6) ด้านการวัดผลและการประเมินผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์อยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.96, S.D. = .69) 2) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์อยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.76, S.D. = .54) และ 3) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของปัญหาในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 3.01, S.D. = .98) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ สาขาวิชา และชั้นปีที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID–19 ไม่แตกต่างกันและปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศและสาขาวิชาที่แตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน ยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคลด้านชั้นปีที่แตกต่างกัน มีผลต่อความพึงพอใจที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10271 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2567_061.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น