กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10255
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภัคณัฏฐ์ จันทนวรานนท์ สมพงษ์ธรรม | |
dc.contributor.advisor | สถาพร พฤฑฒิกุล | |
dc.contributor.author | มนัสนันท์ เกิดเอี่ยม | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:57:04Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:57:04Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10255 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2565 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้ดําเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษา สู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการบริหารการศึกษา จํานวน 17 ท่าน ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) จํานวน 12 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ และค่าร้อยละ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ปัจจัยนําเข้า ได้แก่ คน เงิน การบริหารจัดการและวัสดุอุปกรณ์ แบ่งออกเป็น 7 ด้าน ด้านการนําองค์กร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ มีการกำหนดวิสัยทัศน์และวางแผนการดําเนินงานของสถานศึกษาครอบคลุมทุกฝ่าย มีการสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ผู้เกี่ยวข้องในการดําเนินงานต่าง ๆ ของสถานศึกษา มีการใช้หลักธรรมมาภิบาลในการบริหารงานและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน ด้านการวางแผนกลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ มีการจัดกระบวนการจัดทําและพัฒนากลยุทธ์ของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทําโครงการกิจกรรม โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการวางแผนส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียนในด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ด้านการจัดการกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ในระบบงาน มีการจัดกระบวนการทํางานเพื่อให้บริการที่สร้างคุณค่าแก่ผู้รับบริการ มีการจัดกระบวนการทํางานที่ควบคุมคุณภาพของการทํางานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ มีการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมในองค์กร อย่างมีประสิทธิภาพ มีการสร้างบรรยากาศในการทํางานที่ดีด้วยการสร้างความผูกพันของผู้ปฏิบัติงานและการสร้างแรงจูงใจในสถานศึกษา มีการเอื้ออํานวยให้บุคลากรได้มีโอกาสในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้านการให้ความสําคัญกับผู้รับบริการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ มีการกำหนดความต้องการและความคาดหวังของนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต มีการสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานให้ผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างความผูกพันและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ด้านการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ ดําเนินการจัดทําแผนการวัดผลการวิเคราะห์และการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีการดําเนินการวัดผลและวิเคราะห์ผลการศึกษา โดยมีการทบทวนการดําเนินงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด บุคลากรมีความพร้อมต่อการวัดผลและประเมินผลอย่างเป็นระบบ มีการปรับปรุงการวางแผนการวิเคราะห์ผลอย่างต่อเนื่อง ด้านการมุ่งผลลัพธ์การดําเนินงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ ดําเนินงานโดยมีผลลัพธ์เป็นที่ต้องการของชุมชน มีผลการดําเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด และเป็นที่ยอมรับต่อผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียนและการบริการ จากการดําเนินการตามกระบวนการนําไปสู่ผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่งผลให้สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับผู้บริหาร ครู บุคลากรมีการพัฒนาการดําเนินงาน และนักเรียนมีคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เมื่อตรวจสอบรูปแบบโดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ยังคงให้มีการดําเนินการใช้องค์ประกอบทั้ง 7 ด้าน มาเป็นแนวทางของรูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.subject | การบริหารการศึกษา | |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | |
dc.title.alternative | The development of eductionl qulity mngement model for the excellence of thirth witthy school group under the office of bsic eduction commission | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The research study aimed to develop a model of educational quality management for the excellence of Thairath Witthaya school group under the Office of Basic Education Commission. The research study consisted of two stages. The first stage was to develop a model of educational quality management for the excellence of Thairath Witthaya school group under the Office of Basic Education Commission by mean of the Delphi technique with 17 experts of educational administrators. The second stage was to validate the model by Focus Group Discussion with 12 educational administrators experts. The statistics for the data analysis were median, interquartile range and percentage. The research results were as follows: The model of educational quality management for the excellence of Thairath Witthaya school group under the Office of Basic Education Commission were as follows: the inputs are man, money, management and materials consisted of 7 elements: Regarding organizational leadership, the top three were: vision and planning covering all departments, understanding and public relations for those involved and good governance to be applied in the administration and responsibility to society and the community. Regarding strategic planning, the top three were: process for formulating and developing strategies, activity project by participation of stakeholders and plan to promote teaching management student excellence. Regarding process management, the top three were: creating new innovations in the work system, work processes being organized to provide value-added services to service recipients work process that controls the quality of work. Regarding human resources focus, the top three were: building an effective culture and values in the organization, a good working atmosphere to be created by creating employee engagement and creating motivation and opportunity for personnel to have opportunities for continuous self-improvement. Regarding students and stakeholders important, the top three were: determining the needs and expectations of students parents and communities at the present and in the future, satisfaction in working for the service recipients and bonding and learning atmosphere that is conducive to the development of learners' potential. Regarding measurement analysis and knowledge management, the top three were: preparing a plan for measurement results analysis and knowledge managing, measurements and analyze the results of the study the operation being reviewed and personale are ready for measurement and evaluation the results analysis planning is continually improved. Regarding performance result focus, the top three were: desirable result of the community, operating results in accordance with the specified goals and recognized for result students and service focus. From the implementation of the process leading to the results according to the goals set, resulting in acceptance of educational institutions, administrators, teachers, and personnel development of operations and the students possessing quality according to the set goals. When examining the model with the opinions of experts, it was found that all 7 elements could be implemented as a guideline for the model of educational quality management for the excellence of Thairath Witthaya school group under the Office of Basic Education Commission. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58810100.pdf | 5.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น