กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10253
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประยูร อิ่มสวัสดิ์ | |
dc.contributor.advisor | ภัคณัฏฐ์ จันทนวรานนท์ สมพงษ์ธรรม | |
dc.contributor.author | ชะเอม มีเชาว์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:57:04Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:57:04Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10253 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2565 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล ตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติในการประเมินการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา ภาคตะวันออก 4) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก โดยกำหนดระเบียบวิธีวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ การบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572) ของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก โดยการศึกษาสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัย นําข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูล การบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการบริหารการศึกษาระดับการวางนโยบายทางการศึกษาของภาคตะวันออก จํานวน 9 ท่าน ระยะที่ 2 การพัฒนาโมเดลตัวบ่งชี้และเกณฑ์ปกติของ การบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572) ของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา ภาคตะวันออก โดยแบบสอบถาม ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา ภาคตะวันออก จากการเปิดตารางของ Yamane (1973) ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 340 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่าง และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling) จาก 9 จังหวัด 17 สํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2563 ผลการหาค่าอํานาจจําแนก (Discrimination) มีค่า อยู่ระหว่าง 0.33-0.90 หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) และความสอดคล้องภายในของแบบสอบถามมีค่าเท่ากับ 0.98 ระยะที่ 3 การยืนยันโมเดลตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572) ของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมมติฐานและข้อมูลเชิงประจักษ์ ตรวจสอบโมเดลการวัด (Measurement model) ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 1 (First order confirmatory factor analysis) ในแต่ละองค์ประกอบ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 (Second order confirmatory factor analysis) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ LISREL ระยะที่ 4 การศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572) ของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา ภาคตะวันออก โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ที่ได้จาการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จํานวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา ภาคตะวันออก พบ 3 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การนิเทศ การศึกษาประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การวางแผน การปฏิบัติงาน และการประเมินผล องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสําหรับการพัฒนาหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การนําหลักสูตรไปปฏิบัติ และการประเมินหลักสูตร องค์ประกอบที่ 3 การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การสร้างสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และการวัดผล ประเมินผลการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 2. ความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก พบว่า ความเหมาะสมพอดีของโมเดลมีค่า (Chi-square: χ 2 ) = 59.81, (p) = 0.05, (Degree of freedom: df) = 45 (Relative Chi-square: χ 2 / df) = 1.33, (Root mean square error of approximation: RMSEA) = 0.03, (Normed fit index: NFI) = 0.99, (Non-normed fit index: NNFI) = 1.00, (Comparative fit index: CFI) = 1.00, (Root mean square residual: RMR) = 0.02, (Standardized root mean square residual: SRMR) = 0.02, (Goodness of fit index: GFI) = 0.97, (Adjusted goodness of fit index: AGFI) = 0.94 ซึ่งค่าดัชนีส่วนใหญ่มีผลบ่งชี้เหมาะสมดีตามเกณฑ์ 3. เกณฑ์ปกติในการประเมินการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติพื้นฐาน พบว่า คะแนนการบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572) โดยรวม ประกอบด้วย 83 ตัวบ่งชี้ คะแนนเต็ม 415 คะแนน มีคะแนนเฉลี่ย ( X ) = 362.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) = 39.25 ค่าต่ำสุด (Min) = 203 ค่าสูงสุด (Max) = 415 ค่าความเบ้ (Skewness) = -0.75 และค่าความโด่ง (Kurtosis) = 0.56 4. แนวทางการบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572) ของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก ต้องให้ความสําคัญกับองค์ประกอบหลักการบริหารงานวิชาการทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 การนิเทศการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย คือ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การวางแผน การปฏิบัติงาน และการประเมินผลองค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย คือ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสําหรับการพัฒนาหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การนําหลักสูตรไปปฏิบัติ และการประเมินหลักสูตร และองค์ประกอบที่ 3 การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย คือ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การสร้างสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และการวัดผล ประเมินผลการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ทั้งนี้ ผู้บริหารควรนําผลการประเมินของแต่ละองค์ประกอบย่อยมาใช้เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาแบบครบวงจร การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของแต่ละองค์ประกอบต้องคํานึงถึงความหลากหลายของบริบท สภาพทางภูมิศาสตร์ และสภาพทางเศรษฐกิจของแต่ละสถานศึกษา | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การศึกษา -- การบริหาร (ประถมศึกษา) | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก | |
dc.subject | ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา | |
dc.title | การพัฒนาตัวบ่งชี้และแนวทางการบริหารงานวิชาการในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2563-2572) ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก | |
dc.title.alternative | The development of indictors nd guidelines for cdemic dministrtinon in the next decde (2020-2029) of the primry schools under the office of estern eductionl service re | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were: 1) to develop an indicator model for academic administration of educational institutions under the Office of Elementary Education Service Area, Eastern Region, 2) to examine the consistency of the indicator model of academic administration of educational institutions under the Office of Primary Education Service Area, Eastern Region, 3) to create normal criteria for evaluating academic administration of educational institutions under the Office of Primary Education Service Area, Eastern Region and, 4) to propose guidelines for academic administration of educational institutions Under the Office of Primary Education Service Areas, Eastern Region. The research methodologies consisted of 4 steps: Phase 1: development of indicators for academic administration in the next decade (2020-2029) for educational institutions under the Office of Primary Education ,Eastern Region by synthesizing documents, research, and data analysis to get information on academic administration in the next decade, and interviewing experts in educational administration at the level of educational policy making of the Eastern region with 9 persons, Phase 2: development of a model of indicators and norms of academic administration for the next decade (2020-2029) of educational institutions under the Eastern Elementary Education Service Area Office, the data collection was a questionnaire with 340 school administrators under the Office of Primary Education Service Area, Eastern Region, estimating the sample size from Yamane's table (1973). They were selected by stratified sampling from 9 provinces, 17 Offices of Primary Education Service Area, Eastern region, 2020. The discrimination power was between 0.33-0.90. The reliability and the internal consistency of the questionnaire were at 0.98. Phase 3 Confirmation of the indicator model for academic administration in the next decade (2020-2029) of educational institutions under the Office of Primary Education Service Areas, Eastern Region by confirmatory factor analysis to check the concordance of hypothesis models and empirical data. The measurement model was examined by first order confirmatory factor analysis for each component, second order confirmatory factor analysis by computer program LISREL. Phase 4: a study of guidelines for academic administration in the next decade (2020-2029) of educational institutions under the Educational Service Area Office, Eastern Region by organizing a focus group discussion with 17 persons, selected by purpose sampling. The results were that: 1. The indicator model for academic administration of educational institutions under the Office of Primary Education Service Area, Eastern Region, consisted of 3 main components and 12 sub-components, they were: Component1: educational supervision consisted of; fundamental data analysis, planning, operations and evaluation. Component2: curriculum development for educational institutions consists of; analyzing fundamental data for curriculum development. course design Implementing the course and course assessment Component 3:media development, innovation and educational technology consists of ;analysis of basic information for media development, educational innovation and technology, media creation, educational innovation and technology, media use, educational innovation and technology, and media utilization evaluation. educational innovation and technology 2. The consistency of the indicator model for academic administration of educational institutions, it was found that the suitability of the model was (Chi-square: χ 2 ) = 59.81, (p) = 0.05, (Degree of freedom: df) = 45 (Relative Chi-square: χ 2 / df) = 1.33, (Root mean square error of approximation: RMSEA) = 0.03, (Normed fit index: NFI) = 0.99, (Non-normed fit index: NNFI) = 1.00, (Comparative fit index: CFI) = 1.00, (Root mean square residual: RMR) = 0.02, (Standardized root mean square residual: SRMR) = 0.02, (Goodness of fit index: GFI) = 0.97, (Adjusted goodness of fit index: AGFI) = 0.94, which most of the indices have good indicators of good criterion. 3. The normal criteria for evaluating academic administration of educational institutions under the Office of Primary Education Service Areas, Eastern Region, the results of the analysis of the statistical data revealed that the score on academic administration in the next decade (2020-2029) in overall consisted of 83 indicators, a full score of 415, with a mean score ( X ) = 362.17 standard deviation (SD) = 39.25 minimum (Min) = 203 maximum (Max) = 415 Skewness = -0.75 and Kurtosis = 0.56 4. The guidelines for academic administration in the next decade (2020-2029) for educational institutes under the Eastern Primary Education Service Area were that the office must pay attention to the three main elements of academic administration as follows: 1. Educational supervision, consisted of sub-components: basic data analysis, planning, operations. and evaluation component. 2 Development of educational institutions curriculum, consisted of following sub-components, fundamental data analysis for curriculum development, course design implementing the course and, course assessment. 3 Media development, innovation and educational technology consisted of the following sub-components; the analysis of media development fundamentals, educational innovation and technology, media creation, educational innovation and technology, media use, educational innovation and technology, and media utilization evaluation, educational innovation and technology. The administrators should apply the assessment results of each sub-component to develop and enhance the quality of comprehensive education. Fundamental analysis of each component required a variety of contexts to be considered, geography and economic conditions of each school. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58810096.pdf | 2.9 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น