กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10244
ชื่อเรื่อง: | กระบวนการเพิ่มสมบัติไม้สักอายุน้อยด้วยนวัตกรรมชีวภาพ เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Process of dding properties of young tek with bio innovtion for product design |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ซอ, มิยอง เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง อฏฐม สาริบุตร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ไม้ -- การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ไม้ ไม้สัก วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัย เรื่องกระบวนการเพิ่มสมบัติไม้สักอายุน้อยด้วยนวัตกรรมชีวภาพ เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์ของการทำวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาและทดลองกระบวนการเพิ่มสมบัติไม้สักอายุน้อยด้วยนวัตกรรมชีวภาพ 2. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะพิเศษของไม้สักอายุน้อยด้วยนวัตกรรมชีวภาพ 3. เพื่อสังเคราะห์ผลการทดลอง ประยุกต์สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์จากไม้สักอายุน้อย การวิจัยนี้มีกระบวนการตั้งแต่การนำสมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่ กระเทียม ตะไคร้ สะเดา และขี้เหล็ก นำมาทดลองสกัดสารสกัดสมุนไพรโดยใช้น้ำสะอาดและจับคู่สารสกัดสมุนไพรด้วยทฤษฎีเส้นตรง (Line Blend) ทั้ง 4 ชนิด ในอัตราส่วน 1: 1 ความเข้มข้น 100% จนเกิดเป็นสูตรสารสกัด จำนวน 24 สูตร จากนั้น ทดลองนำตัวอย่างทดลองไม้สักอายุน้อยไปแช่ลงในสารสกัดสมุนไพรทั้ง 24 สูตรและนำตัวอย่างทดลองไปฝังลงในรังปลวกเป็นเวลา 1 เดือน ผลการทดลองพบว่า สูตรสารสกัดขี้เหล็กร้อยละ 60 ต่อสารสกัดสะเดา ร้อยละ 40 ได้ผลในการป้องกันแมลงศัตรูชนิดปลวกได้ดีที่สุด เพราะตัวอย่างทดลองไม่ถูกทำลายโดยแมลงศัตรูจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการทดสอบค่าความเป็นพิษต่อเซลล์ไลน์ (Primary Screen) 2 ชนิด คือ ชนิด HaCat และชนิด Veroโดยนำสารสกัดขี้เหล็กร้อยละ 60 ต่อสารสกัดกระเทียม ร้อยละ 40 สารสกัดขี้เหล็กร้อยละ 60 ต่อสารสกัดตะไคร้ร้อยละ 40 และสารสกัดขี้เหล็กร้อยละ 60 ต่อสารสกัดสะเดา ร้อยละ 40 ผลการทดลองพบว่า สารสกัดขี้เหล็กร้อยละ 60 ต่อสารสกัดสะเดาร้อยละ 40 มีค่าความเป็นพิษต่อเซลล์ไลน์ น้อยที่สุด โดยมีค่าความเป็นพิษต่อเซลล์ไลน์ชนิด HaCat อยู่ที่ 53.561% และชนิด Veroอยู่ที่ 33.318% ผู้วิจัยทำการออกแบบผลิตภัณฑ์จากไม้สักอายุน้อยชีวภาพ โดยสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภค จำนวน 103 คน และสรุปการตัดสินใจเลือกรูปแบบผลิตภัณฑ์ โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process : AHP) พบว่าผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีค่าความสำคัญมากที่สุด ผู้วิจัยจึงทำการออกแบบผลิตภัณฑ์ 4 ชนิด ได้แก่ ของเล่นเสริมทักษะสำหรับเด็ก ผลิตภัณฑ์ประดับตกแต่งผลิตภัณฑ์หิ้งพระและผลิตภัณฑ์ชั้นวางของและประเมินความเหมาะสมของแบบร่างโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ โดยมีผลการประเมิน คือ ของเล่นเสริมทักษะสำหรับเด็ก มีความเหมาะสมมากที่สุด (𝑥̅= 4.52, SD = 0.17) หิ้งพระ มีระดับความเหมาะสมมาก (𝑥̅= 4.48, SD = 0.21) ผลิตภัณฑ์แกะสลัก มีระดับความเหมาะสมมาก (𝑥̅= 4.37,SD = 0.30) และชั้นวางของเล่น มีระดับความเหมาะสมมาก (𝑥̅= 4.33,SD = 0.25) การวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า 1.ไม้สักอายุน้อยที่ผ่านการเพิ่มสมบัติไม้สักอายุน้อยด้วยนวัตกรรมชีวภาพ ซึ่งเกิดจากผลการทดลองนำสารสกัดขี้เหล็กร้อยละ 60 ต่อสารสกัดสะเดาร้อยละ 40 มาผ่านกระบวนการแช่เป็นเวลา 7 วัน เกิดสมบัติ คือ สามารถป้องกันแมลงศัตรู แมลงศัตรูไม่สามารถทำลายเนื้อไม้สักอายุน้อยได้ 2. ไม้สักอายุน้อยที่ผ่านการเพิ่มสมบัติไม้สักอายุน้อยด้วยนวัตกรรมชีวภาพ ซึ่งเกิดจากผลการทดลองนำสารสกัดขี้เหล็กร้อยละ 60 ต่อสารสกัดสะเดาร้อยละ 40 ผ่านกระบวนการเพิ่มสมบัติด้วยแรงดันและความร้อน สามารถลดเวลาเพิ่มสมบัติจาก 7 วัน เป็น 1 วันได้จริงแต่เนื้อไม้สักเกิดการเกิดเป็นรอยแยกจึงไม่เหมาะในการนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จากไม้สัก 3. สารสกัดขี้เหล็ก ร้อยละ 60 ต่อสารสกัดสะเดาร้อยละ 40 มีความเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์น้อย จึงมีความปลอดภัยในการนำไปใช้งาน 4. ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคมีความสนใจในผลิตภัณฑ์ในผลิตภัณฑ์ไม้สัก อายุน้อยที่ผ่านการเพิ่มสมบัติไม้สักอายุน้อยด้วยนวัตกรรมชีวภาพ โดยผลิตภัณฑ์ประเภทเบ็ดเตล็ดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคมีความสนใจมากที่สุด |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10244 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58810089.pdf | 7.72 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น