กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10244
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ซอ, มิยอง | |
dc.contributor.advisor | เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง | |
dc.contributor.author | อฏฐม สาริบุตร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:56:59Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:56:59Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10244 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564 | |
dc.description.abstract | การวิจัย เรื่องกระบวนการเพิ่มสมบัติไม้สักอายุน้อยด้วยนวัตกรรมชีวภาพ เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์ของการทำวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาและทดลองกระบวนการเพิ่มสมบัติไม้สักอายุน้อยด้วยนวัตกรรมชีวภาพ 2. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะพิเศษของไม้สักอายุน้อยด้วยนวัตกรรมชีวภาพ 3. เพื่อสังเคราะห์ผลการทดลอง ประยุกต์สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์จากไม้สักอายุน้อย การวิจัยนี้มีกระบวนการตั้งแต่การนำสมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่ กระเทียม ตะไคร้ สะเดา และขี้เหล็ก นำมาทดลองสกัดสารสกัดสมุนไพรโดยใช้น้ำสะอาดและจับคู่สารสกัดสมุนไพรด้วยทฤษฎีเส้นตรง (Line Blend) ทั้ง 4 ชนิด ในอัตราส่วน 1: 1 ความเข้มข้น 100% จนเกิดเป็นสูตรสารสกัด จำนวน 24 สูตร จากนั้น ทดลองนำตัวอย่างทดลองไม้สักอายุน้อยไปแช่ลงในสารสกัดสมุนไพรทั้ง 24 สูตรและนำตัวอย่างทดลองไปฝังลงในรังปลวกเป็นเวลา 1 เดือน ผลการทดลองพบว่า สูตรสารสกัดขี้เหล็กร้อยละ 60 ต่อสารสกัดสะเดา ร้อยละ 40 ได้ผลในการป้องกันแมลงศัตรูชนิดปลวกได้ดีที่สุด เพราะตัวอย่างทดลองไม่ถูกทำลายโดยแมลงศัตรูจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการทดสอบค่าความเป็นพิษต่อเซลล์ไลน์ (Primary Screen) 2 ชนิด คือ ชนิด HaCat และชนิด Veroโดยนำสารสกัดขี้เหล็กร้อยละ 60 ต่อสารสกัดกระเทียม ร้อยละ 40 สารสกัดขี้เหล็กร้อยละ 60 ต่อสารสกัดตะไคร้ร้อยละ 40 และสารสกัดขี้เหล็กร้อยละ 60 ต่อสารสกัดสะเดา ร้อยละ 40 ผลการทดลองพบว่า สารสกัดขี้เหล็กร้อยละ 60 ต่อสารสกัดสะเดาร้อยละ 40 มีค่าความเป็นพิษต่อเซลล์ไลน์ น้อยที่สุด โดยมีค่าความเป็นพิษต่อเซลล์ไลน์ชนิด HaCat อยู่ที่ 53.561% และชนิด Veroอยู่ที่ 33.318% ผู้วิจัยทำการออกแบบผลิตภัณฑ์จากไม้สักอายุน้อยชีวภาพ โดยสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภค จำนวน 103 คน และสรุปการตัดสินใจเลือกรูปแบบผลิตภัณฑ์ โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process : AHP) พบว่าผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีค่าความสำคัญมากที่สุด ผู้วิจัยจึงทำการออกแบบผลิตภัณฑ์ 4 ชนิด ได้แก่ ของเล่นเสริมทักษะสำหรับเด็ก ผลิตภัณฑ์ประดับตกแต่งผลิตภัณฑ์หิ้งพระและผลิตภัณฑ์ชั้นวางของและประเมินความเหมาะสมของแบบร่างโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ โดยมีผลการประเมิน คือ ของเล่นเสริมทักษะสำหรับเด็ก มีความเหมาะสมมากที่สุด (𝑥̅= 4.52, SD = 0.17) หิ้งพระ มีระดับความเหมาะสมมาก (𝑥̅= 4.48, SD = 0.21) ผลิตภัณฑ์แกะสลัก มีระดับความเหมาะสมมาก (𝑥̅= 4.37,SD = 0.30) และชั้นวางของเล่น มีระดับความเหมาะสมมาก (𝑥̅= 4.33,SD = 0.25) การวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า 1.ไม้สักอายุน้อยที่ผ่านการเพิ่มสมบัติไม้สักอายุน้อยด้วยนวัตกรรมชีวภาพ ซึ่งเกิดจากผลการทดลองนำสารสกัดขี้เหล็กร้อยละ 60 ต่อสารสกัดสะเดาร้อยละ 40 มาผ่านกระบวนการแช่เป็นเวลา 7 วัน เกิดสมบัติ คือ สามารถป้องกันแมลงศัตรู แมลงศัตรูไม่สามารถทำลายเนื้อไม้สักอายุน้อยได้ 2. ไม้สักอายุน้อยที่ผ่านการเพิ่มสมบัติไม้สักอายุน้อยด้วยนวัตกรรมชีวภาพ ซึ่งเกิดจากผลการทดลองนำสารสกัดขี้เหล็กร้อยละ 60 ต่อสารสกัดสะเดาร้อยละ 40 ผ่านกระบวนการเพิ่มสมบัติด้วยแรงดันและความร้อน สามารถลดเวลาเพิ่มสมบัติจาก 7 วัน เป็น 1 วันได้จริงแต่เนื้อไม้สักเกิดการเกิดเป็นรอยแยกจึงไม่เหมาะในการนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จากไม้สัก 3. สารสกัดขี้เหล็ก ร้อยละ 60 ต่อสารสกัดสะเดาร้อยละ 40 มีความเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์น้อย จึงมีความปลอดภัยในการนำไปใช้งาน 4. ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคมีความสนใจในผลิตภัณฑ์ในผลิตภัณฑ์ไม้สัก อายุน้อยที่ผ่านการเพิ่มสมบัติไม้สักอายุน้อยด้วยนวัตกรรมชีวภาพ โดยผลิตภัณฑ์ประเภทเบ็ดเตล็ดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคมีความสนใจมากที่สุด | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์ไม้ -- การออกแบบ | |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์ไม้ | |
dc.subject | ไม้สัก | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก | |
dc.title | กระบวนการเพิ่มสมบัติไม้สักอายุน้อยด้วยนวัตกรรมชีวภาพ เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ | |
dc.title.alternative | Process of dding properties of young tek with bio innovtion for product design | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of process of adding properties of young teak with bio-innovation for product design are 1. to study and experiment process of adding properties of young teak with bio-innovation 2. to analyze the characteristics of young teak with bio-innovation 3. to synthesize experimental results applied to product design from young teak wood. This research includes a process for the introduction of 4herbs: garlic, lemongrass, neem, and cassia, which are herbs that have anti-insect activity. The researcher performed an experiment by extracting using water and matching herbal extracts using the Line Blend theory of all 4 types in a ratio of 1: 1 at 100% concentration until forming 24 extract formulas. Then, soaked the experimental samples in 24 herbal extracts and were buried in termite nests for a month. The results of the experiment showed that Cassia extract formula 60% and neem extract 40% is effective in preventing insect pests of termites as the best because the experimental sample was not destroyed by the Termites then tested two types of cytotoxicity (Primary Screen) by using cassia extract 60% with garlic extract 40%, cassia extract 60% with lemongrass extract 40%, and cassia extract 60% with neem extract 40%. It was found that 60% cassia extract and 40% neem extract had the lowest cytotoxicity. The cytotoxicity was 53.561% HaCat and 33.318% Vero. The researcher designs products from young biological teak by polling the opinions of 103 consumers and summarizing the decision on the product model by using Analytic Hierarchical Process: AHP. It was found that miscellaneous products are the product that is the most important score. Therefore, the researcher designed 4 types of products: enhancing skills toy for children, carving products, Buddha shelf products, and shelf products. The suitability of drafts are evaluated by design experts. The evaluation results are enhancing skills toy for children was the most suitable (𝑥̅= 4.52, SD = 0.17). The Second was Buddha shelf had a very suitable level (𝑥̅= 4.48, SD = 0.21). The third was carving product which was a very suitable level (𝑥̅= 4.37, SD = 0.30) and the last was a shelf that had a very suitable level (𝑥̅= 4.33, SD = 0.25). The conclusions were 1. Younger teak has been added to the properties of young teak with bio-innovation was caused by the experiment results of 60% cassia extract with 40% neem extract through the soaking process for 7 days. The property is able to protect against termites. The Termites cannot destroy a young wood. 2. Young teak that has been added to the properties of young wood with bio-innovation was caused by the experiment results of 60% cassia extract with 40% neem extract through the process of adding properties by pressure and whichheat can reduce the time to increase the property from 7 days to 1 day, but the teak wood is degraded. Therefore, it is not suitable for producing teak wood products. 3. Cassia extract 60% with 40% neem extract is the least toxic to humans and animals. It is safe to use. 4. Consumers are interested in products from young teak that have been added to young teak properties through bio-innovations. The miscellaneous products are the products that consumers are most interested in. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58810089.pdf | 7.72 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น