กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10227
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในอำเภอศรีราชา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development pproch of dul voctionl eduction mngement for privte technologicl college in srirch under the office of voctionl commission |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัคณัฏฐ์ จันทนวรานนท์ สมพงษ์ธรรม สฎายุ ธีระวณิชตระกูล ภาตะวัน บุญจี๊ด มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | อาชีวศึกษา -- การบริหาร มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการอาชีพ |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการศึกษาระบบทวิภาคีที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในอำเภอศรีราชา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการเก็บข้อมูลจาก 1) การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้ให้ข้อมูล จำนวน 8 คน 2) การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และ 3) การสนทนากลุ่ม ผู้ปฏิบัติการ จำนวน 8 คน ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัญหาในการดำเนินงานการบริหารจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในอำเภอศรีราชา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล พบปัญหาในด้านการจัดการฝึกอาชีพและด้านการจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ส่วนด้านการจัดการหลักสูตรและด้านการนิเทศไม่พบสภาพปัญหาในการดำเนินงาน โดยเมื่อลำดับปัญหาในการดำเนินงาน พบปัญหามากที่สุดในด้านการจัดการฝึกอาชีพ 2. แนวทางการบริหารจัดการศึกษาระบบทวิภาคีจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนวทาง 5 แนวทาง 1) การสร้างแรงจูงใจให้กับสถานประกอบการ 2) การสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี 3) การส่งเสริมให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนอบรมครูฝึกในสถานประกอบการร่วมกับสำนักงานพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา 4) การให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีในภาพรวม 5)การบริหารจัดการศึกษาระบบทวิภาคีในทุกมิติโดยมีสภาอุตสาหกรรมเป็นศูนย์กลาง เพื่อการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานต่อไป 3. แนวทางที่ 1-4 มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในส่วนของ แนวทางที่ 5 มีความเหมาะสม อย่างไรก็ตามเป็นส่วนของการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีที่สถานศึกษาและสถานประกอบการไม่มีอำนาจในการบริการจัดการ |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2565 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10227 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
63920296.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น