กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10212
ชื่อเรื่อง: | ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศุลกากรส่วนบริการศุลกากรที่ 1 สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Public opinion towrds qulity of service provided by customs officils t customs service section 1 lem chbng port customs office |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อุษณากร ทาวะรมย์ อาทิตยา สมณา มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
คำสำคัญ: | สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง -- งานบริการ ประชาชน -- ทัศนคติ มหาวิทยาลัยบูรพา -- วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ส่วนบริการศุลกากรที่ 1 สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง และเพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ส่วนบริการศุลกากรที่ 1 สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง จำแนกตามระดับการศึกษา รายได้ประสบการณ์การใช้บริการ และประเภทผู้ใช้บริการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการและตัวแทนออกของประชาชนผู้มารับบริการที่ส่วนบริการศุลกากรที่ 1 สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .967 ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คน ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 231 คน คิดเป็นร้อยละ 57.75 มี รายได้ต่อเดือน 30,001 บาทขึ้นไป จำนวน 148 คน คิดเป็นร้อยละ 37.00 ประสบการณ์การใช้บริการทุกวัน จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 27.25 และเป็นตัวแทนออกของจำนวน 294 คน คิดเป็นร้อยละ 73.50 2. ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ส่วนบริการศุลกากรที่ 1 สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังทั้ง 5 ด้าน พบว่า คุณภาพ การให้บริการในภาพรวม สามอันดับแรก คือ ประเด็นด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ มีคุณภาพ ระดับดีมาก ประเด็นด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้มีคุณภาพระดับดีมาก และประเด็นด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ มีคุณภาพระดับดีมาก ตามลำดับ 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนผู้ใช้บริการที่มีระดับการศึกษา รายได้ ประสบการณ์การใช้บริการ และประเภทผู้ใช้บริการต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ส่วนบริการศุลกากรที่ 1 สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10212 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
62930052.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น