กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10171
ชื่อเรื่อง: โปรแกรมการฝึกยูโดร่วมกับการฝึกซ้อมในใจที่มีต่อทักษะการทุ่มของนักกีฬาเยาวชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Judo trining progrm in coopertion with mentl rehersl on throwing skills of young thletes
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรกมล สิงห์น้อย
รังสฤษฏ์ จำเริญ
ปริญญา เรืองทิพย์
กัญญาเพชร พันดานุวงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: ยูโด -- การฝึก
ยูโด
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกยูโดร่วมกับการฝึกซ้อมในใจที่มีต่อทักษะการทุ่มของนักกีฬาเยาวชน และเปรียบเทียบประสิทธิภาพ E1/E2 ของโปรแกรมการฝึกยูโดร่วมกับการฝึกซ้อมในใจที่มีต่อทักษะการทุ่มของนักกีฬาเยาวชนก่อน และหลังการฝึก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬายูโดระดับเยาวชนของ สปป. ลาว ชาย และหญิงที่มีอายุเฉลี่ยระหว่าง 14 ถึง 18 ปี จำนวน 20 คน ซึ่งประสบการณ์การฝึกขั้นพื้นฐานมาแล้วไม่ต่ำน้อย 6 เดือน ได้มาด้วยวิธีอาสาสมัคร (Volunteer Sampling) โดยเป็นกลุ่มที่มีวิธีการเรียนการสอนทักษะการทุ่มของกีฬายูโดด้วยโปรแกรมการฝึกยูโดร่วมกับการฝึกซ้อมในใจระยะเวลาที่ใช้ในการฝึก 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 1 ชั่วโมง 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมการฝึกซ้อมในใจ และใช้เกณฑ์ การประเมินทักษะการทุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมการฝึกยูโดร่วมกับการฝึกซ้อมในใจที่มีต่อทักษะการทุ่มของนักกีฬาเยาวชนโดย มีค่า IOC อยู่ในเกณฑ์ดี 2. การวิเคราะห์คะแนนของทักษะการทุ่มทั้งสองท่าที่ได้จากการทดสอบระหว่างการทดลอง และหลังการทดลองมีประสิทธิภาพ E1/E2 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 และผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย โดยใช้การทดสอบค่าที (t - test) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบก่อนการทดลองและหลังการทดลองด้วยทักษะการทุ่มทั้งสองท่าพบว่ามีค่าคะแนน 81/87 และ 83/91 แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง โดยทักษะการทุ่มทั้งสองท่ามีภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ 1 ถึงสัปดาห์ที่ 4 จากสัปดาห์ที่ 4 ถึงสัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่ 1 ถึงสัปดาห์ที่ 8 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10171
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60910081.pdf6.84 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น