กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10159
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเด่นชัย ปราบจันดี
dc.contributor.advisorจันทร์พร พรหมมาศ
dc.contributor.authorศิรารัตน์ ปิงเมือง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:54:06Z
dc.date.available2023-09-18T07:54:06Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10159
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น โดยบูรณาการแนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 5 ระยะ ตามแนว ADDIE model คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ (Analysis phase) ระยะที่ 2 การออกแบบ (Design phase) ระยะที่ 3 การพัฒนา (Development phase) ระยะที่ 4 การนำไปใช้ (Implementation phase) และระยะที่ 5 การประเมินผล (Evaluation phase) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผลเป็นนักเรียนที่เรียนแผนการเรียน ศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่นและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นการจัดการเรียนการสอน บทบาทของครูและนักเรียน และการวัด และประเมินผล โดยกระบวนการเรียนการสอนนี้มีแนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์และแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมเป็นแนวคิดทฤษีพื้นฐาน ซึ่งมีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง คือ ความสามารถด้านการพูด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นมีขั้นการจัดการเรียนการสอน 3 ขั้นตอนที่เรียงลำดับอย่างต่อเนื่อง คือ ขั้นศึกษาค้นคว้า ขั้นไตร่ตรอง สะท้อนความคิด และขั้นสร้างความคิดรวบยอด โดยขั้นศึกษา ค้นคว้า มุ่งใช้กลุ่มขนาดเล็กที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความสนใจของนักเรียน และการเรียนรู้ แบบร่วมมือเพื่ออ่าน และวิเคราะห์วรรณกรรมที่สนใจ ขั้นไตร่ตรองสะท้อนความคิด มุ่งให้มีการเสริมต่อการเรียนรู้จากครูโดยอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดและสรุปสิ่งที่ได้จากการศึกษา และได้ความรู้เพิ่มเติมจากครู และขั้นสร้างความคิดรวบยอด มุ่งให้นักเรียนนำเสนอผลในรูปแบบต่าง ๆ และการให้ข้อมูลป้อนกลับจากครูเพื่อให้นักเรียนสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหาสาระการใช้ภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้และ 2) ผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น มีความสามารถด้านการพดูภาษาญี่ปุ่น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า กระบวนการเรียนการสอนภาษานี้ สามารถส่งเสริมความสามารถด้านการพูด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectภาษาญี่ปุ่น -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectวิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก
dc.subjectภาษาญี่ปุ่น -- การใช้ภาษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.titleการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยบูรณาการแนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
dc.title.alternativeDevelopment of jpnese instructionl process by integrting literture circles pproch nd socil constructivism to enhnce mthyomsuks five students’ jpnese speking bility nd lerning chievement
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to develop a Japanese instructional process by integrating Literature Circles Approach and Social Constructivism for Mathayomsuksa five students and to study the learners’ learning achievment of the developed Japanese instructional process. The research process followed the ADDIE Model, conducted into 5 phases; Analysis Phase, Design Phase, Development Phase, Implementation Phase, and Evaluation Phase. The sample was 25 Mathayomsuksa five students of EnglishJapanese program at Chonburi "Sukkhabot" school for academic year 2019, who were randomly selected by cluster sampling. The research instruments were a Japanese speaking ability behavior observationform and a Japanese learning achievement test. The data were then analyzed by using the descriptive statistics of mean and standard deviation, and dependent sample t-test. The results of the study were as follows: 1) The developed Japanese instructional process consisted of; principles, objectives, steps of learning procedure, roles of teacher and students, and measurement and evaluation. The instructional process based on Literature Circles and Social Constructivism as a fundamental comprised of 3 steps for learning procedure; inquiry, reflection, and concept invention. The inquiry step, focuses on small temporary group and collaborative learning to read and analyzethe literature that thestudents are interested in. Reflection step, aims to elaborate the knowledge from teacher by discussing, exchanging ideas,and summarizing what is gained from the study and gaining additional knowledge from teacher. The concept invention step, aim for students to present results in different ways and providing feedback from teacher to enable students to construct their own concept about the content, usage of Japanese language, and culture. 2) The results of using the developed instructional process showed that students who studied through the Japanese instructional process had the Japanese speaking ability and Japanese learning were significantly higher than before studying at the .05 level of statistical significance. It indicated that this instructional process could promote the Japanese speaking ability and Japanese learning achievement of Mathayomsuksa five students.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน
dc.degree.nameการศึกษาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58810211.pdf2.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น