กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10133
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์โมเดลธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ขนาดใหญ่จากบริษัทต้นแบบ กรณีศึกษาบริษัท S |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Anlysis of lrge logistics business model from best prctice compny cse study of s |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เพชรรัตน์ วิริยะสืบพงศ์ ปภาวรินท์ เมืองจันทึก มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว |
คำสำคัญ: | โลจิสติกส์ การขนส่ง มหาวิทยาลัยบูรพา -- คณะการจัดการและการท่องเที่ยว เทคโนโลยีการขนส่ง |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โมเดลธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ขนาดใหญ่จากบริษัทต้นแบบ กรณีศึกษาบริษัท S ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 2 ส่วน ประกอบด้วย การศึกษาแบบ กรณีศึกษา จากแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริบทของงานวิจัย โดยศึกษาผ่านแนวคิดและทฤษฎี แผนผังโมเดลธุรกิจ Business model canvas การศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรในองค์กรโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กำหนดขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่างจากบุคลากรในองค์กรที่มีประสบการณ์การการทำงาน 10 ปีขึ้นไป และเป็นระดับตำแหน่งมืออาชีพ รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 6 ท่าน และความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการบูรณาการความรู้ในส่วนต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาโมเดลของธุรกิจที่เป็นต้นแบบด้านขนส่งโลจิสติกส์ขนาดใหญ่และสามารถใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการพัฒนาธุรกิจด้านขนส่งโลจิสติกส์ จากการวิเคราะห์พบว่าบริษัท S มีลูกค้าเพียงรายเดียว เนื่องจากถูกก่อตั้งมาเพื่อขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานของลูกค้าให้ดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริการด้านการขนส่งโลจิสติกส์มีการจัดการกระบวนการต่าง ๆ เกี่ยวกับการขนส่งโลจิสติกส์อย่างครบวงจรและโดยใช้ระบบไอทีมาบริหารเพื่อจัดการด้านการติดต่อสื่อสารที่สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและกลุ่มบริษัทในเครือทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อความต้องการเพื่อให้เกิดสภาพคล่องในองค์กรรวมถึงระบบปฏิบัติการของบริษัท ซึ่งหลังจากนี้จะใช่ค่าว่าระบบปฏิบัติการ B ที่เป็นทรัพยากรหนึ่งขององค์กรและจัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาเฉพาะของบริษัทที่เป็นตัวแปรในการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานให้แก่ลูกค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่ทำให้บริษัท S เหนือกว่าบริษัทขนส่งโลจิสติกส์อื่น ๆ เนื่องจากสามารถตอบสนองกิจกรรมหลัก คือ การนำเข้า ส่งออก ติดตามและเรียกเก็บเงินให้บรรลุวัตถุประสงค์ของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการบริการที่มีความโปร่งใสและตรงไปตรงมา หุ้นส่วนสำคัญของบริษัทแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ลูกค้าที่สร้างแรงผลักดันและทำให้บริษัทคงอยู่ 2. คู่ค้าที่ทำให้กระบวนการต่าง ๆ ดำเนินไปได้จากต้นทางไปสู่ปลายทางอย่างสมบูรณ์โดยที่บริษัท S จะเป็นผู้บริหารจัดการโดยรวมทั้งหมดในการดำเนินงานด้านต้นทุนของบริษัท S ได้มีการจัดการต้นทุนในการดำเนินกิจการด้านต้นทุนแปรผัน โดยมีการประมูลราคาสำหรับเลือกคู่ค้าในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ได้ผลประกอบการที่ดีที่สุด และต้องแน่ใจว่าจะไม่เกิดปัญหาระหว่างการจัดส่ง โดยรายได้ของบริษัทขึ้นกับกำลังการผลิตและผลประกอบการของลูกค้าโดยตรง |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10133 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58920091.pdf | 3.39 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น