กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10102
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
dc.contributor.advisorธนาวุฒิ ลาตวงษ์
dc.contributor.authorสรวีย์ นาคเกษม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:51:20Z
dc.date.available2023-09-18T07:51:20Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10102
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) ศึกษาการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาขนาดของผลจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดประชาบำรุงกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2563 ได้มาจาก วิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องงานและพลังงาน จำนวน 4 แผนการจัดการเรียนรู้ 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวน 32 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .21-.73 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .24-.53 และค่าความเชื่อมั่นของโลเวทท์เท่ากับ .78 และ 3) แบบวัดการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .43 - .70 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .27- .80 และค่าความเชื่อมั่นของโลเวทท์เท่ากับ .84 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าขนาดของผล ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2. ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 3. ขนาดของผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ มีค่า 5.39 อยู่ในระดับมาก 4. การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 5. การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 6. ขนาดของผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์มีค่า 2.21 อยู่ในระดับมาก
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.titleการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่อง งานและพลังงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
dc.title.alternativeA study of science lerning chievement nd scientific problems solving using problem-bsed lerning with stem eduction in work nd energy of eight grde students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to: 1) study the science learning achievement of students before and after learning by using problem-based learning with STEM education, and after learning with the set criteria of 70 percent.; 2) study the scientific problem solving of students before and after learning by using problem-based learning with STEM education , and after learning with the set criteria of 70 percent. and 3) to study the effect size by using problem-based learning with STEM education on science learning achievement and scientific problem solving. The research target, derive by purposive selection, was 24 grade eight students who was studying in the first semester of the academic year 2020 at Wat Prachabamrungkit School. The research instruments consisted of: 1) 4 lesson plans, for 16 hours learning, based on problem-based learning with STEM education for grade eight students with validity between .67-1.00; 2) a science achievement test of 32 questions with difficulty index between .21–.73, power of discrimination between .24–.53, and Lovett’s reliability of .78. and 3) a test on problem scientific solving of 20 questions with difficulty index between .43–.70, power of discrimination between .27–.80, and Lovett’s reliability of .84. Data were analyzed with mean, standard deviation percentage and effect size. The findings of this research were as follows: 1. the students’ science learning achievement after learning by using problem-based learning with STEM education was higher than that of before. 2. the students’ science learning achievement after learning by using problem-based learning with STEM education was higher than the set criteria of 70 percent. 3. the results of the effect size by using problem-based learning with STEM education On academic achievement in the science learning achievement of 5.39 in the high level. 4. the students’ problem scientific solving after learning by using problem-based learning with STEM education was higher than that of before. 5. the students’ problem scientific solving after learning by using problem-based learning with STEM education was higher than the set criteria of 70 percent. 6. the results of the effect size by using problem-based learning with STEM education On academic achievement in the scientific problem solving of 2.21 in the high level.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการสอนวิทยาศาสตร์
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61920127.pdf8.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น