กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10098
ชื่อเรื่อง: การสังเคราะห์กรด 2,5-ฟูแรนไดคาร์บอกซิลิก จาก 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟูรัลของโลหะแพลเลเดียมผสมโลหะทรานซิชันบนถ่านกัมมันต์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Synthesis of 2,5-furndicrboxylic cid from 5-hydroxymethylfurfurl ofpd nd trnsition metls supported on ctivted crbon
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สร้อยพัทธา สร้อยสุวรรณ
เสฎฐกรณ์ อุปเสน
กวิน สิมะวัฒนา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
แพลเลเดียม
กรด -- การสังเคราะห์
เมทานอล
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: สภาวะที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของ HMF เป็น FDCA โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา 1% โดยน้ำหนักของโลหะแพลเลเดียมบนถ่านกัมมันต์ (Pd/AC) โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดปฏิกิริยา ได้แก่ ตัวทำ ละลาย (H2O และ CH3CN) อุณหภูมิในการเกิดปฏิกิริยา (80-150 o C) สารออกซิไดซ์ (O2 5 barและ TBHP, อัตราส่วนของ TBHP: HMF = 9 :1) และความเข้มข้นของ Na2CO3 (0, 0.06 และ 0.3 M) ในขณะที่เวลาในการทำปฏิกิริยาคงที่ที่ 24 hr พบว่า ตัวทำละลาย H2O และ CH3CN มีสภาวะที่เหมาะสมแตกต่างกันในกรณีของตัวทำละลาย H2O ให้ร้อยละผลได้ของปฏิกิริยาออกซิเดชัน HMF อยู่ที่ 53% ภายใต้อุณหภูมิ 70 o C ความเข้มข้นของ Na2CO3 0.03 M และอัตราส่วนของ HMF: TBHP (9 :1) ในกรณีตัวทำละลาย CH3CN ให้ร้อยละผลได้ของปฏิกิริยาออกซิเดชันของ HMF อยู่ที่ 42% ภายใต้อุณหภูมิ 110 o C อัตราส่วนของ TBHP: HMF (9 :1) โดยปราศจากการใช้ Na2CO3 โดยสภาวะที่ใช้ตัวทำละลาย H2O เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น โลหะแพลเลเดียมผสมกับโลหะทรานซิชัน ตัวที่สอง (เช่น แมงกานีส นิกเกิลและโคบอลต์) บนถ่านกัมมันต์ถูกเตรียมโดยวิธีการตรึงอนุภาคคอลลอยด์ขนาดนาโน โดยตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะ แพลเลเดียมผสมกับโลหะทรานซิชัน ตัวที่สองมีประสิทธิภาพด้อยกว่า เมื่อเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยา Pd/AC โดยตัวเร่งปฏิกิริยา Pd/AC ให้ผลการเลือกเกิด FFCA> HMFCA>FDCA ในขณะที่ตัวเร่งปฏิกิริยาอื่น ๆ เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของ HMF เป็น FDCA ได้ไม่ดีแต่ตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้มีการเลือกเกิดผลิตภัณฑ์ข้างเคียงเท่านั้น เช่น HMFCA>FFCA สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะแพลเลเดียมผสมกับโลหะทรานซิชัน ตัวที่สองบนถ่านกัมมันต์เกิดการปนเปื้อนของ PVA ซึ่งเกาะล้อมรอบอนุภาคของโลหะส่งผลให้การเร่งปฏิกิริยาของโลหะเกิดขึ้นได้ไม่ดีนอกจากนั้นขนาดเฉลี่ยของ Pd/AC มีขนาด 6 nm ทำให้มีการกระจายตัวที่ดีกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาตัวอื่น ๆ (14-24 nm)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10098
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60910108.pdf7.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น