กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10086
ชื่อเรื่อง: ผลของการนอนหลับไม่เพียงพอและการควบคุมการหายใจต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effect of sleep deprivtion nd brething control on utonomic nervous system
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยะพงษ์ ประเสริฐศรี
อรชร บุญลา
จารุวรรณ เวียร์ร่า
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: การนอนหลับ
การพักผ่อน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการนอนหลับไม่เพียงพอและการนอนหลับ เพียงพอต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด และประสิทธิภาพการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือด และศึกษาและเปรียบเทียบผลของการควบคุมการหายใจแบบ 4-7-8 ต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจและความดันโลหิตของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้ง 2 กลุ่ม โดยทำการศึกษาในผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยสุขภาพดีอายุ 18-25 ปีแบ่งผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนอนหลับไม่เพียงพอ จำนวน 22 คน และกลุ่มนอนหลับเพียงพอ ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 22 คน ทำการวัดตัวแปร ประกอบด้วยการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจความดันโลหิตหลังการควบคุมการหายใจแบบ 4-7-8 และวัดตัวแปรข้างต้นร่วมกับน้ำตาลในเลือดและการขยายของหลอดเลือดโดยอาศัยเยื่อบุผนังหลอดเลือดก่อนการควบคุมการหายใจแบบ 4-7-8 ผลการศึกษาพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้ง 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการขยายของหลอดเลือดโดยอาศัยเยื่อบุผนังหลอดเลือด และแต่ละกลุ่มมีอัตราการเต้นของหัวใจความดันโลหิต ความแตกต่างของความดันโลหิต ความดันในหลอดเลือดแดงเฉลี่ยและปริมาณการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติร่วมกับมีค่าความแปรปรวนของระยะเวลาระหว่างการเต้นของหัวใจแต่ละครั้งค่าสัญญาณความถี่ต่ำมากค่าสัญญาณความถี่ต่ำและค่าสัดส่วนของค่าความถี่ต่ำต่อความถี่สูงลดลงและค่าสัญญาณความถี่สูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการควบคุมการหายใจแบบ 4-7-8 ทันที แต่ไม่พบความแตกต่างกันของตัวแปรข้างต้นและระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้ง 2 กลุ่ม ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยสุขภาพดีที่นอนหลับไม่เพียงพอและที่นอนหลับเพียงพอมีการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือดไม่ต่างกัน แต่ในผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่นอนหลับไม่เพียงพอมีประสิทธิภาพการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่แย่ลง นอกจากนี้การควบคุมการหายใจแบบ 4-7-8 อาจปรับปรุงการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจโดยเพิ่มการทำงานของระบบพาราซิมพาเธติกและลดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10086
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61910128.pdf1.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น