กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10086
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปิยะพงษ์ ประเสริฐศรี
dc.contributor.advisorอรชร บุญลา
dc.contributor.authorจารุวรรณ เวียร์ร่า
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:51:16Z
dc.date.available2023-09-18T07:51:16Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10086
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการนอนหลับไม่เพียงพอและการนอนหลับ เพียงพอต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด และประสิทธิภาพการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือด และศึกษาและเปรียบเทียบผลของการควบคุมการหายใจแบบ 4-7-8 ต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจและความดันโลหิตของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้ง 2 กลุ่ม โดยทำการศึกษาในผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยสุขภาพดีอายุ 18-25 ปีแบ่งผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนอนหลับไม่เพียงพอ จำนวน 22 คน และกลุ่มนอนหลับเพียงพอ ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 22 คน ทำการวัดตัวแปร ประกอบด้วยการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจความดันโลหิตหลังการควบคุมการหายใจแบบ 4-7-8 และวัดตัวแปรข้างต้นร่วมกับน้ำตาลในเลือดและการขยายของหลอดเลือดโดยอาศัยเยื่อบุผนังหลอดเลือดก่อนการควบคุมการหายใจแบบ 4-7-8 ผลการศึกษาพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้ง 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการขยายของหลอดเลือดโดยอาศัยเยื่อบุผนังหลอดเลือด และแต่ละกลุ่มมีอัตราการเต้นของหัวใจความดันโลหิต ความแตกต่างของความดันโลหิต ความดันในหลอดเลือดแดงเฉลี่ยและปริมาณการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติร่วมกับมีค่าความแปรปรวนของระยะเวลาระหว่างการเต้นของหัวใจแต่ละครั้งค่าสัญญาณความถี่ต่ำมากค่าสัญญาณความถี่ต่ำและค่าสัดส่วนของค่าความถี่ต่ำต่อความถี่สูงลดลงและค่าสัญญาณความถี่สูงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการควบคุมการหายใจแบบ 4-7-8 ทันที แต่ไม่พบความแตกต่างกันของตัวแปรข้างต้นและระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้ง 2 กลุ่ม ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยสุขภาพดีที่นอนหลับไม่เพียงพอและที่นอนหลับเพียงพอมีการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือดไม่ต่างกัน แต่ในผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่นอนหลับไม่เพียงพอมีประสิทธิภาพการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่แย่ลง นอกจากนี้การควบคุมการหายใจแบบ 4-7-8 อาจปรับปรุงการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจโดยเพิ่มการทำงานของระบบพาราซิมพาเธติกและลดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติก
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการนอนหลับ
dc.subjectการพักผ่อน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
dc.titleผลของการนอนหลับไม่เพียงพอและการควบคุมการหายใจต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ
dc.title.alternativeThe effect of sleep deprivtion nd brething control on utonomic nervous system
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to investigated and compared effect of sleep deprivation and adequate sleep on cardiac autonomic nervous system function, blood pressure, blood glucose and endothelial function and investigated and compared effect of 4-7-8 breathing control pattern on cardiac autonomic nervous system function and blood pressure in the two subject groups. Healthy subjects aged 18-25 years were enrolled and divided into 2 groups consisting of 22 sleep deprivation subjects and 22 adequate sleep subjects which defined as control group. All subjects were examined outcomes including cardiac autonomic nervous system function and blood pressure immediately after the 4-7-8 breathing control and measured above parameters together with blood glucose and endothelium-dependent vasodilation before the 4-7-8 breathing control. Results showed that both group significantly differences in endothelium-dependent vasodilation and each subject group significantly decreased in heart rate, blood pressure, pulse pressure, mean arterial pressure, and rate-pressure product after 4-7-8 breathing control. Moreover, the standard deviation of NN intervals, very low frequency power, low frequency power, and low frequency/high frequency ratio significantly reduced and high frequency power significantly elevated after 4-7-8 breathing control. However, there were no significant differences in all above parameters and blood glucose between the two subject groups. The results suggest that healthy persons both with and without sleep deprivation possess similar in cardiac autonomic nervous system function, blood pressure, and blood glucose. However, endothelial function may be impaired in persons with sleep deprivation. Furthermore, 4-7-8 breathing control may improve cardiac autonomic nervous system function by elevating parasympathetic nervous activity and reducing sympathetic nervous activity.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การแพทย์
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61910128.pdf1.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น