กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10070
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการจัดการเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mngement model to promote exercise for the elderly in the communities of the sub-district dministrtive orgniztion in the upper north of thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รังสฤษฏ์ จำเริญ
นภพร ทัศนัยนา
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
กุลชาดา ศรีใส
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การออกกำลังและการกีฬา
คำสำคัญ: การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การออกกำลังและการกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและยืนยันรูปแบบการจัดการเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลในภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย โดยใช้ทฤษฎีระบบ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการจัดการการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในจังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง โดยใช้แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อรวบรวมความเห็นในประเด็นต่าง ๆ ของสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่คาดหวัง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 690 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนและใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย 2) สร้างและพัฒนารูปแบบโดยใช้กระบวนการเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 17 คน 3) ยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ด้วยวิธีการสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลในภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย โดยใช้ทฤษฎีระบบ ด้านปัจจัยนำเข้า ดังนี้ 1) ด้านบุคลากร ประกอบด้วย วิทยากร แกนนำ และอาสาสมัคร 6 ประเด็น 2) ด้านงานประมาณรายได้และงบประมาณจากภายในและภายนอกองค์กร 6 ประเด็น 3) ด้านการจัดการอุปกรณ์และสถานที่ 4 ประเด็น 4) ด้านการจัดการที่ดี 6 ประเด็น ด้านกระบวนการบริหารจัดการ มีดังนี้ คือ 1) ด้านการวางแผน วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และกำหนดแผนจัดการทรัพยากรการจัดการ 9 ประเด็น 2) ด้านการจัดองค์กร ประกอบด้วยโครงสร้างและหน้าที่ รับผิดชอบ 7 ประเด็น 3) การนำองค์กร ประกอบด้วย การขับเคลื่อนการดำเนินงานต่าง ๆ ตามกลยุทธ์โครงการและกิจกรรม รวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจ 8 ประเด็น 4) ด้านการควบคุม ประกอบด้วย ติดตามวัดและประเมินผล รายงานปรับปรุงแก้ไขผลการปฏิบัติงาน 8 ประเด็น ด้านผลลัพธ์ของการดำเนินงาน ประกอบด้วย ผลการดำเนินงานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพมี 5 ประเด็น ผลการยืนยันรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริง
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10070
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810086.pdf3.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น