กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10069
ชื่อเรื่อง: การพัฒนามาตรวัดความรอบรู้ทางสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายสำหรับวัยรุ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of physicl ctivity helth litercy scle for dolescents
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิธัญญา วัณโณ
ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์
ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์
กิตติ์ คุณกิตติ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: ความรอบรู้ทางสุขภาพ
สุขภาพ
สมรรถภาพทางกาย
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบมาตรวัดความรอบรู้ทางสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายสำหรับวัยรุ่น โดยตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาเพื่อพิจารณาความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ หาค่าความเชื่อมั่น กับวัยรุ่นที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจริง จำนวน 60 คน และทดสอบความสอดคล้องมาตรวัด ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายสำหรับวัยรุ่นกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำ ลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศทั้งหมด 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ที่มีอายุระหว่าง 18-22 ปี จำนวน 822 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคและตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลการพัฒนามาตรวัดความรอบรู้ทางสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายสำหรับวัยรุ่นจากการสังเคราะห์องค์ประกอบจากงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความวิชาการได้มาตรวัด จำนวน 9 องค์ประกอบ 96 ข้อคำถาม ประกอบด้วยองค์ประกอบการเข้าถึงข้อมูลด้านกิจกรรมทางกายองค์ประกอบความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายองค์ประกอบการรับรู้ถึงประโยชน์ของกิจกรรมทางกายองค์ประกอบการรับรู้ถึงอุปสรรคของกิจกรรมทางกายองค์ประกอบการรับรู้ถึงสมรรถนะของตนเองด้านกิจกรรมทางกายองค์ประกอบความรู้สึกที่มีต่อกิจกรรมทางกายองค์ประกอบอิทธิพลระหว่างบุคคลด้านกิจกรรมทางกาย องค์ประกอบอิทธิพลจากสถานการณ์สิ่งแวดล้อมด้านกิจกรรมทางกายและองค์ประกอบพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายผลการพิจารณาความเที่ยงตรงตามเนื้อหา พบว่า ข้อคำถามมีค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาเป็นไปตามเกณฑ์มากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 ขึ้นไป เท่ากับ 89 ข้อคำถาม และผลการหาค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น พบว่า ข้อคำถามที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 79 ข้อคำถาม โดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .21 ถึง .80และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .91 2. ผลค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า โมเดลมาตรวัดความรอบรู้ทางสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายของวัยรุ่นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไคสแควร์= 4.77; p= 0.688; df= 7; GFI= .999; AGFI= .992; RMR = 0.009; RMSEA = .000) ดังนั้น มาตรวัดความรอบรู้ทางสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายของวัยรุ่นสามารถจำแนกความรอบรู้ทางสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายของวัยรุ่น และเป็นแนวทางการเสนอแนะการปรับปรุง พัฒนารูปแบบกิจกรรมทางกายของวัยรุ่น
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10069
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59810071.pdf3.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น