กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10068
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการผสมผสานการจัดการความรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้ฝึกสอนในโรงเรียนกีฬา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Integrted model of knowledge mngement nd professionl lerning community for developing coches in sport schools
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รังสฤษฏ์ จำเริญ
นภพร ทัศนัยนา
ประวิทย์ ทองไชย
สืบสกุล ใจสมุทร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: บุคลากรทางการกีฬา
ผู้ฝึกกีฬา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทดลองใช้ และประเมินรูปแบบการผสมผสานการจัดการความรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้ฝึกสอนในโรงเรียนกีฬา โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน นำข้อมูลที่ได้ไปสร้างรูปแบบ และจึงนำไปยืนยันรูปแบบที่ได้จากสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6คน เพื่อยืนยันว่ารูปแบบสามารถนำไปทดลองใช้ได้จริง หลังจากนั้นนำรูปแบบไปทดลองใช้กับผู้ฝึกสอนในโรงเรียนกีฬาจังหวัดตรังเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พร้อมทั้งประเมินรูปแบบโดยใช้ CIPP model และประเมินความพึงพอใจของนักกีฬาที่มีต่อผู้ฝึกสอนหลังทดลองใช้รูปแบบผลการวิจัยพบว่า ผลจากการสร้างรูปแบบการผสมผสานการจัดการความรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้ฝึกสอนในโรงเรียนกีฬา มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ในการนำไปปฏิบัติประกอบด้วย การทำงาน 4 ด้าน ตาม PIER model คือ 1) วางแผน 2) การนำไปปฏิบัติ 3) ประเมินผล 4) สะท้อนผล โดยมีกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ 1) รวมกลุ่ม ผู้ฝึกสอนกีฬา จำนวน 4-8 คน แต่งตั้งคณะกรรมการประจำกลุ่ม กำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจและวัตถุประสงค์ 2) ค้นหาปัญหาและสิ่งที่ต้องการพัฒนาร่วมกันจัดลำดับของปัญหาและสิ่งที่ต้องการพัฒนานำเสนอ สาเหตุที่มาของปัญหากำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาจากสาเหตุที่มาของปัญหา 3) ออกแบบกิจกรรมการแก้ปัญหาร่วมกันออกแบบกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา 4) การนำไปสู่การปฏิบัติและประเมินผล นำกิจกรรมไปทดลองใช้และประเมินผล 5) สะท้อนผลร่วมกัน สรุป วิพากษ์ และอภิปรายผล จากการนำไปทดลองใช้ด้วยวิธีการทบทวนผลหลังปฏิบัติงาน (AAR: After action review) โดยมีกระบวนการจัดการความรู้สอดแทรกอยู่ทุกกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ 1) การแสวงหาความรู้ 2) การจัดเก็บความรู้ 3) การแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ผลจากการทดลองใช้รูปแบบทำให้ทราบถึงการทำงานตามกระบวนการในคู่มือการใช้รูปแบบของผู้ฝึกสอน ผลจากการประเมินรูปแบบ พบว่า ผู้ฝึกสอนมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 และนักกีฬามีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนของผู้ฝึกสอนหลังทดลองใช้รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10068
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59810076.pdf4.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น