กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10064
ชื่อเรื่อง: ผลของการฝึกบนบกที่มีต่อสมรรถภาพทางกายความสามารถในการว่ายน้ำและฮอร์โมน IGF-I ในนักกีฬาว่ายน้ำเยาวชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of dry lnd trining progrm on physicl fitness,swimming performnce nd hormone igf-i in young swimmers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กนก พานทอง
สุกัญญา เจริญวัฒนะ
นิรอมลี มะกาเจ
ณัฐธิดา บังเมฆ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
สมรรถภาพทางกาย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
การออกกำลังกาย
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกบนบกและศึกษาผลการฝึกบนบกที่มีต่อสมรรถภาพทางกายความสามารถในการว่ายน้ำ สภาพโภชนาการและระดับฮอร์โมน IGF-I ในนักกีฬาว่ายน้ำเยาวชน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักกีฬาว่ายน้ำสโมสรว่ายน้ำ โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา อายุ 9-15 ปี เพศชาย จำนวน 11 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 6 คน และกลุ่มควบคุม 5 คน ด้วยวิธีการจับคู่ (Matchpair) แล้วสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลากกลุ่มทดลองทำการฝึกบนบกร่วมกับการฝึกว่ายน้ำ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ขณะที่กลุ่มควบคุมฝึกว่ายน้ำตามโปรแกรมของสโมสรตามปกติทำการเก็บข้อมูลสมรรถภาพทางกาย ความสามารถในการว่ายน้ำ และสภาพโภชนาการก่อน และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4, 8 และ 12 และตรวจวัดระดับฮอร์โมน IGF-I ก่อน และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 12วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Friedman test, Wilcoxon signed ranks test และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการฝึกบนบกทำการฝึกครั้งละ 6 ท่าแต่ละท่าทำ 10-14 ครั้ง/ เซท จำนวน 3 เซท สัปดาห์ละ 2วัน ระยะเวลารวม 12 สัปดาห์ 2) สมรรถภาพทางกายด้านน้ำหนักตัว ส่วนสูง ความกว้างของช่วงแขน มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของกลุ่มทดลองหลังการฝึก 12 สัปดาห์มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติส่วนเส้นรอบวงต้นแขน เปอร์เซนต์ไขมัน และมวลไขมัน พบว่า ไม่แตกต่างกับก่อนการฝึก 3)ความสามารถในการว่ายน้ำ ด้านเวลาในการว่ายน้ำ ท่าฟรีสไตล์ 100 เมตร ของกลุ่มทดลองหลังการฝึก 12 สัปดาห์ พบว่า มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติส่วนความสามารถในการว่ายน้ำเชิงแอโรบิก (Critical swim speed) และแอนแอโรบิก (Anaerobiccriticalvelocity) พบว่า ไม่แตกต่างกับก่อนการฝึก 4) สภาพโภชนาการด้านพลังงานพื้นฐานของร่างกาย (BMR) พลังงานรวมที่ร่างกายใช้ต่อวัน (TDEE) และวิตามิน B12 ของกลุ่มทดลองหลังการฝึก 12 สัปดาห์มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5) ระดับฮอร์โมน IGF-I ของกลุ่มทดลองก่อน และหลังการฝึก 12 สัปดาห์ พบว่า ไม่แตกต่างกัน 6) สมรรถภาพทางกายความสามารถในการว่ายน้ำ และระดับฮอร์โมน IGF-I ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการฝึก 12 สัปดาห์ พบว่า ไม่แตกต่างกัน ส่วนการบริโภคแคลเซียม และวิตามิน C หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 12 พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10064
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58810062.pdf10.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น