กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10046
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการทำระบบลีน 4.0 ในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Internl supporting fctors influencing the success of Len mnufcturing 4.0 in utomotive industry in the Estern Economic Corridor
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรัญยา แสงลิ้มสุวรรณ
ธนภณ นิธิเชาวกุล
สุรีย์พร ภูมิชัยสุวรรณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
คำสำคัญ: การผลิตแบบลีน
อุตสาหกรรมรถยนต์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
การผลิตแบบลีน -- การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ระบบลีนถูกนำมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้องค์กรสามารถขจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต การขนส่งและการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลให้เกิดการลดต้นทุน การเพิ่มผลิตภาพการผลิต ความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนขององค์กรในปัจจุบันมีการพัฒนาระบบลีน 4.0 ขึ้น โดยปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบ ได้แก่ การกำหนดนโยบายการสนับสนุนและติดตามผลจากผู้บริหาร รวมทั้งการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ และวัฒนธรรมองค์กรแห่งลีน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำ เร็จของระบบลีน 4.0 และ 2) ตรวจสอบและนำเสนอโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการทำระบบลีน 4.0 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออกกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการทำระบบลีนหรือ ลีน 4.0 จำนวน 240 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบใช้วิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้างผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ การฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ (TR) ส่วนปัจจัยความสำเร็จในการทำระบบลีน 4.0 ที่ได้รับอิทธิพลสูงสุด คือ การลดต้นทุนขององค์กร (CR) จากการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพบว่า ปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำ เร็จของการทำระบบลีน 4.0 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีความ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางในการจัดลำดับความสำคัญเพื่อดำเนินงานตามแนวคิดของระบบลีนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10046
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61920184.pdf5.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น