กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10042
ชื่อเรื่อง: ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The socil welfre needs of elderly in tsit subdistrict plukdeng district ryong province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ
อุษณากร ทาวะรมย์
ศศิวิมล กองทรัพย์เจริญ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต
สวัสดิการ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดงจังหวัดระยองและเพื่อเปรียบเทียบความต้องการ สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตตำบลตาสิทธ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง จำแนกตามปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านสุขภาพ ประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุในเขตตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 270 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และแบ่งความต้องการออกเป็น 4 ระดับ เพื่อสอบถามความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุตามแนวทางของการจัดทำมาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุของกรมการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ทั้ง 6 ด้าน แล้วนำผลการสำรวจมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติที่ใช้ประกอบด้วยความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และ One-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมผู้สูงอายุมีความต้องการสวัสดิการอยู่ในระดับมากเมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัวเป็นอันดับแรกรองลงมา คือ ด้านที่พักอาศัย ด้านรายได้ด้านนันทนาการ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลและด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุนผู้สูงอายุเป็นด้านที่ผู้สูงอายุต้องการเป็นลำดับสุดท้าย ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้สูงอายุที่มีเพศ สถานภาพสมรส รายได้แหล่งที่มารายได้ที่พักอาศัย จำนวนสมาชิกในครอบครัวและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองที่ต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการทั้งภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันแต่ผู้สูงอายุที่มีอายุต่างกัน มีความต้องการด้านนันทนาการและด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความต้องการด้านรายได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีอาชีพต่างกัน มีความต้องการด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัวผู้ดูแลและการคุ้มครองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10042
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61930022.pdf2.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น