กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10038
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพในการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The helth sp promotion service for helth tourism center in estern region of thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
วรวุฒิ เพ็งพันธ์
ธีระพงษ์ อาญาเมือง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
สถานบริการสุขภาพ
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
สปา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและปัญหา 2) กระบวนการที่เหมาะสม และ 3) แนวทางการส่งเสริมสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพในการรองรับการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในภาคตะวันออกงานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม ข้อมูลจากการสำรวจ สัมภาษณ์สังเกต และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของสถานประกอบการมีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างสูง และมีบริการที่หลากหลายเน้นการให้บริการด้านการแพทย์องค์รวมและการแพทย์พื้นบ้านนำแหล่งทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นทุนทางด้านสถานที่วัตถุดิบ ผสมผสานกลิ่นอายอารยธรรมตะวันตก อย่างลงตัว และสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแห่ง ด้านปัญหายังขาดพนักงานที่มีฝีมือและจำนวนไม่เพียงพอ ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ปัญหาการบังคังใช้กฎหมายกับผู้ประกอบการที่ทำ ธุรกิจแอบแฝงและสร้างความเสียหายให้กับภาพลักษณ์ของธุรกิจสปาและนวดแผนไทยของประเทศไทย ซึ่งถ้าสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้จะทำให้ธุรกิจสปาและนวดแผนไทยของไทยมีความเข้มแข็ง และเติบโตอย่างยั่ง ยืน 2) กระบวนการที่เหมาะสม ควรมีระบบการจัดการที่ดีใน 5 องค์ประกอบ ดังนี้ ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง, ต้องมีแหล่งเงินทุนที่เข้าถึงได้ง่าย, มีวัตถุดิบที่ได้คุณภาพมาตรฐานและเพียงพอ, ต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย และระบบการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่า, ข้อมูลข่าวสารควรมีช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายและทันสมัยเข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย และ 3) แนวทางการส่งเสริมสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพจำเป็นต้องมีการส่งเสริมเกื้อหนุนกันระหว่างภาครัฐ และเอกชน ควรมีการพัฒนาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้ครบทั้ง 5 องค์ประกอบ ควรมีการส่งเสริมจากภาครัฐด้านนโยบาย ด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ควรมีการจัดบริการที่ตอบสนองต่อความ ต้องการของผู้รับบริการ การทำวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจหรือความต้องการของผู้รับบริการโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการพัฒนาบุคลากรให้สามารถให้บริการกับกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในระดับประเทศต่อไป
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10038
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810231.pdf7.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น