กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10034
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จ กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A development of trining curriculum for cretive problem solving life skill for preschool children t mssyid bn somded community pre-school children center in bngkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิชิต สุรัตน์เรืองชัย
ปริญญา ทองสอน
ปราณี นามวิชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษาปฐมวัย
การวางแผนหลักสูตร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยสำหรับครูปฐมวัยหลังการฝึกอบรม และ 3) เพื่อศึกษาความสามารถด้านทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่าง เป็นครูปฐมวัย จำนวน 10 คน และเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 3 จำนวน 20 คน ของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จ ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2562 ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรฝึกอบรมครู แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูปฐมวัย และแบบทดสอบความสามารถด้านทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรคข์องเด็กปฐมวัย ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNImodified การทดสอบค่าทีแบบ dependent t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้หลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีองค์ประกอบหลักสูตร ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายโครงสร้างของหลักสูตรเนื้อหาสาระของหลักสูตรกิจกรรมดำเนินการฝึกอบรม ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการฝึกอบรม โดยการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2) ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า (2.1) ครูปฐมวัยมีความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2.2) ครูปฐมวัย มีความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต ในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมาก (2.3) ครูปฐมวัยมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 3) ความสามารถด้านทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์กับครูที่เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย มีความสามารถหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10034
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58810123.pdf2.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น