กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10034
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวิชิต สุรัตน์เรืองชัย
dc.contributor.advisorปริญญา ทองสอน
dc.contributor.authorปราณี นามวิชัย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:44:00Z
dc.date.available2023-09-18T07:44:00Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10034
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยสำหรับครูปฐมวัยหลังการฝึกอบรม และ 3) เพื่อศึกษาความสามารถด้านทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่าง เป็นครูปฐมวัย จำนวน 10 คน และเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 3 จำนวน 20 คน ของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จ ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2562 ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรฝึกอบรมครู แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูปฐมวัย และแบบทดสอบความสามารถด้านทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรคข์องเด็กปฐมวัย ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNImodified การทดสอบค่าทีแบบ dependent t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้หลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีองค์ประกอบหลักสูตร ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายโครงสร้างของหลักสูตรเนื้อหาสาระของหลักสูตรกิจกรรมดำเนินการฝึกอบรม ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการฝึกอบรม โดยการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2) ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า (2.1) ครูปฐมวัยมีความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2.2) ครูปฐมวัย มีความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต ในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมาก (2.3) ครูปฐมวัยมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 3) ความสามารถด้านทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์กับครูที่เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย มีความสามารถหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการศึกษาปฐมวัย
dc.subjectการวางแผนหลักสูตร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จ กรุงเทพมหานคร
dc.title.alternativeA development of trining curriculum for cretive problem solving life skill for preschool children t mssyid bn somded community pre-school children center in bngkok
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research and development were: 1) to develop a training curriculum for creative problem-solving on life skill for preschool children at Massayid Ban Somded Community Pre-school Children Center Bangkok, 2) to implement and evaluate the results of the developed training curriculum for creative problem-solving life skill for the preschool children at Massayid Ban Somded Community Pre-school Children Center Bangkok for teachers after training, and 3) to study the life skills of the early childhood creative problemsolving thinking after being taught by the developed curriculum. The samples were selected by a cluster random sampling technique, consisted of 10 teachers and 20 early childhood students studying at Massayid Ban Somded Community Pre-school Children Center Bangkok. The research instruments were an achievement test, an evaluation form and a questionnaire. The data were analyzed by Mean , Standard Deviation , PNImodified ,dependent t-test, and content analysis. The research results were as follows: 1) The developed training curriculum for creative problem-solving life skill for the preschool children comprised of: principles and background, curriculum objectives, contents and learning experiences, activities, media and learning resources, and assessment and evaluation, the assessing the suitability of the training curriculum by the experts was found the the developed curriculum was highly suitable. 2) The results of the training courses were as follows: 1) the teachers had knowledge of experiences on life skills on creative problem-solving for early childhood children after the training significantly higher than before the training significantly difference at .05 level, 2) the preschool teachers possessed skills in writing lesson plan for developing the creative problemsolving life skill for the preschool children at the high level, 3) the teachers had positive opinions toward the training curriculum for creative problem-solving on skill for preschool children. 3. The results of training curriculum for creative problem-solving on life skill for preschool children at the organized follow-up phase was that the early childhood children had knowledge after the study significantly higher than before the study differently at .05 level of significance.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน
dc.degree.nameการศึกษาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58810123.pdf2.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น