กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10010
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการคลอดอย่างต่อเนื่องต่อความกลัวการคลอดและผลลัพธ์ของการคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of continuous lbor support progrmme on fer of childbirth nd childbirth outcomes mong primiprous women
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
สุพิศ ศิริอรุณรัตน์
สุดารักษ์ ประสาร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การทำคลอด
การคลอด
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การสนับสนุนในระยะคลอด เป็นบทบาทอิสระที่สำคัญของพยาบาลผดุงครรภ์ การวิจัย แบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental research design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนในระยะคลอดอย่างต่อเนื่องต่อความกลัวการคลอด และผลลัพธ์ของการคลอดของผู้คลอดครรภ์แรกกลุ่มตัวอย่างเป็น หญิงตั้งครรภ์ ครรภ์แรกที่มาฝากครรภ์และมาคลอดบุตรเมื่ออายุครรภ์ 38-40 สัปดาห์ ณ ห้องคลอด โรงพยาบาลศรีสะเกษ จำ นวน 48 คน เลือกตัวอย่างตามคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายกลุ่มละ 24 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์และการคลอด และแบบวัดความกลัวการคลอดด้วยสายตา (Fear of birth scale) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ สถิติทดสอบสัดส่วน และสถิติทดสอบค่าทีอิสระ ผลการวิจัยพบว่า ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของความกลัวการคลอดที่วัด ครั้งที่ 2 (หลังเข้าร่วมโปรแกรมการสนับสนุนในระยะคลอดอย่างต่อเนื่องในระยะตั้งครรภ์) น้อยกว่าที่วัดครั้งที่ 1 แต่มีค่าเฉลี่ยของความกลัวการคลอดเพิ่มขึ้นเมื่อวัดครั้งที่ 3 (เมื่อแรกรับไว้ในห้องคลอด) และมีค่าสูงสุดเมื่อวัดครั้งที่ 4 (ระยะปากมดลูกเปิดมาก 6-7 ซม.) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของความแตกต่างของคะแนนความกลัวการคลอดที่วัดครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.009) และได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001) แต่มีค่าเฉลี่ยของความแตกต่างของคะแนนความกลัวการคลอดที่วัดครั้งที่ 3 กับครั้งที่ 4 ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในระยะที่ 1 ของการคลอด และสัดส่วน วิธีการคลอดแบบการคลอดปกติไม่แตกต่างกันจากกลุ่มควบคุม (p = .830, p = .714 และ p = .188 ตามลำดับ) ผลการศึกษาเสนอแนะว่า พยาบาลผดุงครรภ์ควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการเตรียมความพร้อมเพื่อการคลอดและดูแลผู้คลอดในระยะคลอดเพื่อลดการใช้ยาเร่งคลอด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10010
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920075.pdf2.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น