Abstract:
ความเหนื่อยล้าเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังและสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังมากเป็นอันดับหนึ่ง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหนื่อยล้าและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้ม เหลวเรื้อรังที่มาตรวจรักษาตามแพทย์นัดที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม โรงพยาบาลนครนายก จำนวน 85 รายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามความเหนื่อยล้าแบบสอบถามอาการนอนไม่หลับแบบสอบถามอาการซึมเศร้าและแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมได้ค่า ความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .90, .95, .89 และ .95 ตามลำดับ ส่วนแบบสอบถามอาการหายใจลำบากมีค่าความเชื่อมั่น โดยวิธีทดสอบซ้ำ เท่ากับ .93 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์สถิติถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังมีความเหนื่อยล้าอยู่ในระดับมาก (M = 7.21, SD = 1.60) ปัจจัยด้านอาการหายใจลำบากอาการนอนไม่หลับอาการซึมเศร้า และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายความเหนื่อยล้าของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 37 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R 2 adj= .37, p-value < .001) รองลงมาได้แก่ อาการซึมเศร้าและอาการนอนไม่หลับ (Beta = .27 และ Beta = .26, p < .01 ตามลำดับ) ส่วนการสนับสนุนทางสังคมไม่สามารถทำนายความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Beta = .03, p> .05) ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่า ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้าควรที่จะเน้นเรื่องการจัดการกับอาการหายใจลำบากอาการซึมเศร้าและอาการนอนไม่หลับ