DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบกิจกรรมการส่งเสริมการเจริญเติบโตพืชของแอคติโนมัยสีทกับแบคทีเรีย Pseudomonas putida ในข้าวภายใต้สภาวะความเค็ม

Show simple item record

dc.contributor.advisor เศรษฐวัชร ฉ่ำศาสตร์
dc.contributor.author จิราวรรณ สิทธิสวนจิก
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:36:23Z
dc.date.available 2023-09-18T07:36:23Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9977
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract ปัญหาดินเค็มเป็นปัญหาสำคัญในการทำการเกษตรในประเทศไทยประการหนึ่งความเค็มของดินจะส่งผลให้พืชชะงักการเจริญเติบโตและส่งผลให้ผลผลิตของพืชตกต่ำกลยุทธ์หนึ่งที่จะช่วยพืชให้สามารถทนทานต่อสภาวะความเค็มของดินได้ คือ การใช้แบคทีเรียที่มีคุณสมบัติส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช (PGPB) ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงได้นำแอคติโนมัยสีทที่คัดแยกจากมูลไส้เดือนและผักบุ้งทะเล จำนวน 38 ไอโซเลต และ P. putida ATCC 17484 มาคัดกรองและเลือกสายพันธุ์ที่สามารถสร้างฮอร์โมนพืช IAA และ/หรือเอนไซม์ ACCD ในอาหารเหลวเลี้ยงเชื้อที่มีสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ 200-1,000 มิลลิโมลาร์ได้และนำสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้ไปศึกษาความสามารถในการส่งเสริมการเจริญเติบเติบโตของข้าว (Oryza sativa L. cv. KDML105) และจัดจำแนกแอคติโนมัยสีทสายพันธุ์ที่คัดเลือกด้วยยีน 16S rRNA ผลการคัดกรองจากคุณสมบัติสร้างฮอร์โมนพืช IAA และ/หรือเอนไซม์ ACCD ในอาหารเหลวเลี้ยงเชื้อที่มีสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ 200-1,000 มิลลิโมลาร์ได้พบว่า แอคติโนมัยสีท จำนวน 3 ไอโซเลต คือ BBUU144, BBUU161 และ BBUU500 และ P. putida ATCC 17484 ถูกคัดเลือกสำหรับผลการส่งเสริมการเจริญเติบโตพบว่า BBUU500 ที่คัดแยกจากผักบุ้งทะเลสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ได้ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ BBUU144, BBUU161 และ P. putida ATCC 17484 ผลการจัดจำแนกแอคติโนมัยสีทที่ถูกคัดเลือกทั้ง 3 ไอโซเลตพบว่า เป็นสมาชิกของสกุล Streptomyces การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า Streptomyces ทั้ง 3 สายพันธุ์และ P. putida ATCC 17484 เป็นแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติเป็น PGPB และสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวที่เจริญในสภาวะดินเค็มได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ดินเค็ม
dc.subject แอคติโนมัยสีท
dc.subject ข้าวขาวดอกมะลิ -- การปลูก
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
dc.subject แบคทีเรีย
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบกิจกรรมการส่งเสริมการเจริญเติบโตพืชของแอคติโนมัยสีทกับแบคทีเรีย Pseudomonas putida ในข้าวภายใต้สภาวะความเค็ม
dc.title.alternative Comprtive study of plnt growth promoting ctivity of ctinomycetes nd pseudomons putid in rice under sline condition
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Soil salinity is a serious problem in agriculture in Thailand which suppresses the productivity of crop plants. One of the strategies to enable plants to tolerate saline soils is to use the plant growth-promoting bacteria (PGPB). In this study, 38 actinomycetes isolated from earthworm castings and beach morning-glory, with P. putida ATCC 17484 were used to screen and select the strains that were able to produce indole-3-acetic acid (IAA) and/or 1- aminocyclopropane-1-carboxylate deaminase (ACCD) in the broth media supplemented with 200-1,000 mM NaCl solution. The selected strains were used to study the capability of promoting the growth of rice plant (Oryza sativa L. cv. KDML105). To identify the selected actinomycetes in the genus level, 16S rRNA gene was analyzed. The results of screening for producing IAA and/or ACCD in the presence of 200-1000 mM of NaCl solution, three actinomycetes including BBUU144, BBUU161 and BBUU500 and P. putida ATCC 17484 were selected. For the results of promoting the growth of plant, BBUU500 isolated from beach morning-glory has shown the most ability to promote the growth of rice plants when the compare with BBUU144, BBUU161 and P. putida ATCC 17484. The result of the identification reveals that 3 selected actinomycetes belong to the genus Streptomyces. This study shows that three Streptomyces and P. putida ATCC 17484 are PGPB and can promote the growth of rice plant grown in saline soil conditions.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account