Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ และ 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของปะชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน ในเขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 400 คน โดยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบบง่าย และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ใช้สถิติ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 403 คน เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 57.82 และเป็นเพศชาย ร้อยละ 42.18 มีอายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 61.79 สถานภาพการสมรส เป็นโสด ร้อยละ 70.97 การศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)/ อนุปริญญา มากที่สุด ร้อยละ 41.44 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 36.97โดยมีรายได้ระหว่าง 15,001-20,000 บาท (ร้อยละ 22.58) และส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ตั้งแต่ 6-10 ปี ร้อยละ 49.13 การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย พบว่า 1. ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.31, SD= 0.92) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก ( X =3.42,SD = 0.73) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับมาก ( X =3.45, SD = 0.79) และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล อยู่ในระดับมาก ( X =3.41, SD = 0.77) ผลการทดสอบสมมติฐานการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยความคิดเห็น การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย พบว่า เพศที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นในการมีส่วนร่วมด้านการปฏิบัติ ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระดับ .05 อายุที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นในการมีส่วนร่วมด้านนการตัดสินใจ การรับผลประโยชน์ และการประเมินผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระดับ .05 รายได้เฉลี่ยที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นในการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และการประเมินผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 สำหรับสถานะสมรส ระดับการศึกษาอาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลที่แตกต่างกัน มีความเห็นต่อการมีส่วนร่วมในทุกด้านต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ .05