Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความท้าทายทางการบริหารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการบริหารในปัจจุบัน ศึกษาและ วิเคราะห์กลยุทธ์การจัดการเพื่อความมั่นคงขององค์กร และเพื่อนำเสนอกลยุทธ์ในการปรับตัวเพื่อความมั่นคงขององค์กรการศึกษาในครั้งนี้ใช้ข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงและผู้เชียวชาญด้านแผนและนโยบายการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 7 ท่าน นักวิชการผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ 2 ท่าน นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการเมือง 1 ท่าน นักเคลื่อนไหวทางด้านการเมืองและสิ่งแวดล้อม 1 ท่านและผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน 3 ท่าน รวมจำนวนทั้งสิ้น 14 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูล สัมภาษณ์เจาะลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยแบบกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษา พบว่าความท้าทายทางการบริหารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน วิเคราะห์ด้วยรูปแบบ PESTLE Analysis 6 ประเด็น คือ 1. ด้านการเมือง พบว่า ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองและความไม่ต่อเนื่องของนโยบายมีความท้าทายเกี่ยวกับประเด็นด้านพลังงาน 2. ด้านเศรษฐกิจ พบว่า สภาพเศรษฐกิจการแข่งขันใน ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ปัญหาความไม่สมดุลระหว่างการผลิต และความต้องการใช้ไฟฟ้ารวมถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้า 3. ด้านสังคม พบว่า การตื่นตัวของสังคมที่มีต่อนโยบายสาธารณะการตื่นตัวของการรวมกลุ่มประชาชนและการ เกิดภาคประชาสังคม 4. ด้านเทคโนโลยี พบว่า เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการรวมกลุ่มสื่อสังคม ออนไลน์ 5. ด้านกฎหมาย พบว่า พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 และแผนพัฒนา กำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) ไม่สอดรับกับสถานการณ์การแข่งขันในปัจจุบัน 6. ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า การขาดแคลนพลังงานที่เป็นเชื้อเพลิงในการผลิต การตระหนักถึงปัญหาสภาวะโลก ร้อนของสังคม เรื่องกลยุทธ์การจัดการเพื่อความมั่นคงขององค์กรวิเคราะห์ด้วยแนวคิด 7 s McKinsey ดังนี้ 1. ด้านกลยุทธ์พบว่า ใช้หลักการ SPEED 2. ด้านโครงสร้างองค์กร พบว่า ลดโครงสร้างองค์กร 3. ด้านสไตล์ พบว่า ปรับเพิ่มความสัมพันธ์ในการทำงานระหว่างผู้บริหารกับพนักงานโดยการยึดหลักธรรมาภิบาล 4. ด้านระบบ พบว่า ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการจัดการ 5. ด้านบุคลากร พบว่า วางตำแหน่งคนและ จัดสรรโอกาสในการเติบโตอย่างเป็นระบบ 6. ด้านทักษะ พบว่า สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมภายในองค์กรและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 7. ด้านค่านิยม พบว่า ปรับปรุงให้ทันสมัยและเน้นการสื่อสารเป็นสำคัญ และได้ สังเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการนำเสนอกลยุทธ์ในการปรับตัวเพื่อความมั่นคงขององค์กร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย