Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความมั่นคงในการดำรงชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่อุตสาหกรรมของประเทศไทย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงในการดำรงชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่อุตสาหกรรมของประเทศไทย และเพื่อนำเสนอแนวทางในการสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตที่เหมาะสมของเกษตรกรในพื้นที่อุตสาหกรรมของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมของประเทศไทย 3 จังหวัด ได้แก่ 1. จังหวัดชลบุรี 2. จังหวัดระยอง และ 3. จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 384 ตัวอย่าง และ 2. ผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ เกษตรอำเภอ นักวิชาการด้าน พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร พาณิชย์จังหวัด ผู้อำนวยการกลุ่มกำกับและพัฒนาเศรษฐกิจการค้าผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์และตัวแทนเกษตรกร จำนวนทั้งสิ้น 10 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ประมวลผลด้วย โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยค่าสัมประสิทธิ์การทำนายกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า 1. เกษตรกรที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับของความมั่นคงในการดำรงชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่อุตสาหกรรมของประเทศไทยโดยรวมนั้น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก 3 ประเด็น โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านอาหารรองลงมา คือ ด้านที่อยู่อาศัย และด้านครอบครัวและความสุขในชีวิต ตามลำดับ และมีประเด็นที่อยู่ในระดับปานกลางอีก 3 ประเด็น โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินรองลงมา คือ ด้านสุขภาพร่างกาย และด้านอาชีพ ตามลำดับ 2. ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ ด้านชุมชนและสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านนโยบายรัฐบาล มีอิทธิพลต่อความมั่นคงในการดำ รงชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่อุตสาหกรรมของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .053. ด้าน หลักคิดพื้นฐานในการดำรงอาชีพเกษตรกร ด้านความพอประมาณ ด้านการมีความรู้ด้านการมีภูมิคุ้มกัน และด้านการมีคุณธรรม มีอิทธิพลต่อความมั่นคงในการดำรงชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่อุตสาหกรรมของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .054. ความสามารถในกระบวนการการจัดการการประกอบเกษตรกรรม ด้านการจัดการ ด้านการผลิต และด้านการตลาด มีอิทธิพลต่อความมั่นคงในการดำรงชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่อุตสาหกรรมของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5. แนวทางในการสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตที่เหมาะสมของเกษตรกรในพื้นที่อุตสาหกรรมของประเทศไทยนั้น หน่วยงานภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับการนำเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมกัยการดำเนินยุทธศาสตร์เกษตร และสหกรณ์ ระยะ 20 ปีให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสามารถในการหาตลาดเพื่อรับซื้อสินค้าทางการเกษตรของกลุ่มเกษตรกร ทั้งในประเทศและต่างประเทศเน้นความต่อเนื่องของนโยบายการพัฒนาภาคการเกษตร และหน่วยงานภาครัฐต้องประสานงานร่วมมือกับสถาบันด้านศึกษา สถาบันทางการเงิน เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในประเทศไทย