DSpace Repository

ผลของสายพันธุ์ Saccharomyces cerevisiae และการหมักน้ำส้มสายชูโคจิข้าวแดงจากผลพลอยได้พาสตาข้าวเจ้า

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศนิ จิระสถิตย์
dc.contributor.author เสาวลักษณ์ จันทโรจน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:36:17Z
dc.date.available 2023-09-18T07:36:17Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9948
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสายพันธุ์ยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae TISTR 5169, TISTR 5196 และ TISTR 5197) ต่อคุณภาพของไวน์โคจิข้าวแดงที่ผลิตจากผลพลอยได้พาสตาข้าวเจ้าและศึกษาคุณภาพของน้ำส้มสายชูโคจิข้าวแดงที่หมักด้วย Acetobacter pasteurianus TISTR 102 การทดลองนี้ทำการหมักโคจิผลพลอยได้พาสตาข้าวเจ้าด้วย Amylomyces rouxii TISTR 3182 เป็นเวลา 4 วัน จากนั้นทำการหมักแอลกอฮอล์ด้วยยีสต์ S. cerevisiae สายพันธุ์ต่าง ๆ ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 14 วัน ผลการทดลองพบว่า ยีสต์ทุกสายพันธุ์เจริญเติบโต และผลิตแอลกอฮอล์ในระหว่างการหมัก โดยS. cerevisiae TISTR 5169 สามารถผลิตแอลกอฮอล์ได้สูง ในระยะเวลาสั้นกว่ายีสต์สายพันธุ์อื่น นอกจากนี้ไวน์โคจิข้าวแดงที่หมักด้วย S. cerevisiae TISTR 5169 ยังมีคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสที่ดีกว่าตัวอย่างที่หมักด้วยยีสต์สายพันธุ์อื่น ดังนั้น ไวน์โคจิข้าวแดงที่หมักด้วย S. cerevisiae TISTR 5169 เหมาะสำหรับนำไปใช้ในการผลิตน้ำส้มสายชูหมัก เมื่อศึกษาคุณภาพของน้ำส้มสายชูโคจิข้าวแดง โดยนำไวน์โคจิข้าวแดงที่หมักจาก S. cerevisiae TISTR 5169 มาทำการหมักกรดอะซิติกด้วย A. pasteurianus TISTR 102 ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 39 วัน ผลการทดลองพบว่า A. pasteurianus สามารถเจริญ และออกซิไดซ์แอลกอฮอล์เพื่อผลิตกรดอะซิติกในระหว่างการหมัก โดยน้ำส้มสายชูโคจิข้าวแดงมีปริมาณกรดอะซิติกไม่น้อยกว่า ร้อยละ 4 (น้ำหนักต่อปริมาตร) เมื่อหมักเป็นเวลานาน 27 วัน นอกจากนี้น้ำส้มสายชูโคจิข้าวแดงยังมีสมบัติเชิงหน้าที่โดยมีปริมาณรงควัตถุสีเหลือง สีส้ม และสีแดง เท่ากับ 0.17, 0.08 และ 0.06 OD unit/g ตามลำดับ และมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณสารโมนาโคลินเคฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH และฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส เท่ากับ 71.70 µg GAE/ml, 14.11 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม ร้อยละ 58.75 และร้อยละ 71.70 ตามลำดับ และไม่พบสารพิษซิตรินินในน้ำส้ม สายชูโคจิข้าวแดง
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การหมัก
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
dc.subject น้ำส้มสายชู
dc.title ผลของสายพันธุ์ Saccharomyces cerevisiae และการหมักน้ำส้มสายชูโคจิข้าวแดงจากผลพลอยได้พาสตาข้าวเจ้า
dc.title.alternative Effect ofscchromyces cerevisie strins nd fermenttion of redkoji vinegr from rice pst by-product
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of this study was to investigate the effect of yeast strains (Saccharomyces cerevisiae TISTR 5169, TISTR 5196 and TISTR 5197) on the quality of red-koji wines from rice pasta by-products. The quality of red-koji vinegar fermented with Acetobacter pasteurianus TISTR 102 was also investigated. Rice pasta by-product koji was cultivated by Amylomyces rouxii TISTR 3182 for 4 days. In alcohol fermentation, rice pasta by-product koji was fermented by the different yeast strains at ambient temperature for 14 days. The results showed that all yeast strains grew and produced alcohol during fermentation.S. cerevisiae TISTR 5169 produced higher alcohol content in shorter fermentation time than that of the other yeast strains. In addition, red-koji wines fermented by S. cerevisiae TISTR 5169 found to have better sensory qualitythan samples fermented by other yeast strains. Therefore, S. cerevisiae TISTR 5169 red- koji wine was suitable for production of fermented vinegar. In acetous acid fermentation, red-koji wine fermented by S. cerevisiae TISTR 5169 was then fermented by A. pasteurianus TISTR 102 at ambient temperature for 39 days. It was found that A. pasteurianus grew and oxidized alcohol to acetic acid during fermentation. Red-koji vinegar contained no less than 4% (w/v) acetic acid after fermentation for 27 days. In addition, red-koji vinegar hadfunctional properties. The yellow, orange and red pigment were 0.17, 0.08 and 0.06 OD unit/g, respectively. Total phenolic content, monacolin K, DPPH antioxidant activity and xanthine oxidase inhibitory activity were 71.70 µg GAE/ml, 14.11 µg/100g, 58.75% and 71.70%, respectively, and without citrinin toxinin red-koji vinegar.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account