DSpace Repository

การวิเคราะห์โปรตีโอมในเซลล์อสุจิของหอยนางรมปากจีบ Saccostrea cuccullata

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุทิน กิ่งทอง
dc.contributor.author กุลนิษฐ์ ถนอมจิตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:36:17Z
dc.date.available 2023-09-18T07:36:17Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9947
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract หอยนางรมปากจีบ Saccostrea cuccullata เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญและมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย การผสมเทียมตัวอ่อนเป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้ในระบบเพาะเลี้ยงหอยนางรมด้วยวิธี stripping หรือ spawning เพื่อใช้ในการคัดเลือกพ่อพันธุ์ที่เหมาะสมต่อการผสมเทียม อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการผสมพันธุ์และคุณภาพของตัวอ่อนที่ได้จากระบบ เพาะเลี้ยงในวิธีดังกล่าวยังไม่คงที่เนื่องจากยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องความสมบูรณ์ของเซลล์สืบพันธุ์ และคุณภาพของน้ำเชื้อ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของเซลล์และการเจริญของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ในท่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านและเพื่อวิเคราะห์และจำแนกชนิดโปรตีนทั้งหมดที่พบในเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของหอยนางรมปากจีบ ผู้วิจัยใช้วิธีในการเก็บเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ 2 วิธี คือ spawning และ stripping จากนั้นใช้วิธี 2D gel electrophoresis ในการแยกโปรตีน โปรตีนที่ได้ทั้งหมดถูกนำมาตัด จากนั้นทำการย่อยโปรตีนด้วย trypsin และใช้ LC-MS/MS และ bioinformatics ในการระบุชนิดโปรตีน ผลการวิจัยพบว่า สามารถระบุชนิดโปรตีนได้ทั้งหมด 188 spots เป็นโปรตีนทั้งหมด 112 ชนิด โดยแยกโปรตีนเป็นกลุ่มซึ่งแบ่งตามแหล่งที่พบได้เป็น 10 กลุ่ม ซึ่งโปรตีนที่พบส่วนใหญ่ทำงานเกี่ยวข้องกับโครงร่างของเซลล์ (cytoskeleton) เช่น tubulin และกลุ่มโปรตีน tektin นอกจากนี้ยังพบโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานในเซลล์การแบ่งเซลล์การพัฒนาของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และกระบวนการในการปฏิสนธิ (acrosomal process) ร่วมด้วย ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยทำการสร้างแผนที่อ้างอิงโปรตีน (reference map) ที่ระบุชนิดได้ทั้งหมด โดยผลงานวิจัยในครั้งนี้สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา เกี่ยวกับหน้าที่ของโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบในเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ในหอยนางรมปากจีบนำไปใช้ในการจำแนกความสมบูรณ์พันธุ์และคุณภาพของน้ำเชื้อได้นอกจากนี้ความรู้ที่ได้เกี่ยวกับคุณภาพของน้ำเชื้อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องการเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หอยนางรม การคัดเลือกเซลล์สืบพันธุ์และการผสมเทียมตัวอ่อนเพื่อพัฒนาระบบเพาะเลี้ยงหอยนางรมชนิดนี้ต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject หอยนางรมปากจีบ -- การขยายพันธุ์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
dc.title การวิเคราะห์โปรตีโอมในเซลล์อสุจิของหอยนางรมปากจีบ Saccostrea cuccullata
dc.title.alternative Sperm proteome nlysis of the hooded oyster sccostre cuccullt
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The Hooded oyster, Saccostrea cuccullata is economically important animal and has been cultured in Thailand. Artificial fertilizations are being used in oyster cultures by either stripping or spawning methods in order to collect gametes from broodstocks. However, reproductive success and embryo quality of hatcheries remains inconsistent. This may be due to gamete maturation and quality of sperm in this species are not well addressed. Thus, recent work aim to investigate sperm cell and developing sperm cells in gonadal tubules by using transmission electron microscope (TEM) and to analyze sperm proteome of the Hooded oyster in order to reveal protein profile and identify all proteins found in oyster sperms. Sperms were collected from male oysters by spawning and stripping methods. Sperm proteins were extracted and separated in two dimensional gel electrophoresis. Proteins in gel were cut, digested with trypsin and identified by using a LC-MS/MS and bioinformatics analysis. The results showed that we identified protein total 188 spots and detected as 112 proteins. We separated protein in 10 groups according to protein locations. Proteins found in sperm were involved in the cytoskeletons such as Tubulin and Tektin group, energy production, cell cycle of spermatogenesis and acrosomal process. Reference map of sperm proteome was also constructed for this species. The results obtained from this work improve current understanding of sperm protein component and function in this species and help us identify proteins associated to sperm maturity and quality. Additionally, knowledge of sperm quality would be applied to broodstock conditioning, gamete collection and artificial fertilization in order to improve hatchery system for this species.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account