DSpace Repository

ย้อนรอยเครื่องปั้นดินเผาในเส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำจังหวัดพิษณุโลก : สู่การออกแบบเครื่องปั้นดินเผาชุมชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor พงศ์เดช ไชยคุตร
dc.contributor.advisor เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
dc.contributor.author ฐิตาภรณ์ แหวนเพชร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:36:15Z
dc.date.available 2023-09-18T07:36:15Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9942
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาย้อนรอยเครื่องปั้นดินเผาในเส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำ จังหวัดพิษณุโลก: สู่การออกแบบเครื่องปั้นดินเผาชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูล เครื่องปั้นดินเผาในเส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำ จังหวัดพิษณุโลก 2) ทดลองและวิเคราะห์วัตถุดิบ ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา 3) วิเคราะห์และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ชุมชน และ 4) พัฒนาศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาที่ปรากฏในเส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำ จังหวัดพิษณุโลก ผลการศึกษาในตอนที่ 1 พบว่า “น้ำ” เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ เราจะเห็นได้ว่า เครื่องปั้นดินเผาผูกพันกับวิถีชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ มีหลักฐานปรากฏทางโบราณคดีมากมายที่พบในจังหวัดพิษณุโลก และที่บ้านนาไก่เขี่ย ตำบลนาบัว อำเภอนครไทย พบเตาเผาโบราณ และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ยังหลงเหลือและคงความสมบูรณ์อยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9) ได้ตัดผ่านจังหวัดพิษณุโลกด้วย ซึ่งผลการศึกษาในตอนที่ 2 จึงได้ทำการทดลอง และวิเคราะห์วัตถุดิบในท้องถิ่นที่เหมาะสมต่อการขึ้นรูป ผลการวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบในตอนที่ 3 ได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ง่ายต่อการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา และรักษารูปแบบของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมที่สะท้อนถึงวิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ผลการดำเนินการในตอนที่ 4 มีการนำองค์ความรู้ที่ได้ถ่ายทอดสู่ชุมชนและบรรจุรายวิชาเครื่องปั้นดินเผา ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ให้กับนักเรียนในโรงเรียนบ้านนาไก่เขี่ย เพื่อปลูกเจตคติที่ดีต่อวิถีชีวิตดั้งเดิม ในอดีต สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเตาเผาและผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาโบราณที่ปรากฏในชุมชนบ้านนาไก่เขี่ย ตำบลนาบัว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เครื่องปั้นดินเผาไทย -- พิษณุโลก
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.title ย้อนรอยเครื่องปั้นดินเผาในเส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำจังหวัดพิษณุโลก : สู่การออกแบบเครื่องปั้นดินเผาชุมชน
dc.title.alternative Historicl investigtion of pottery wre in the culturl river bsin of phitsnulok: with guidelines for locl pottery wre development
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The research study, which is intended to examine earthenware along the cultural river basin of Phitsanulok, has the following objectives. First, it studies the history of pottery along the cultural river basin in Phitsanulok province. Second, it experiments with and analyzes raw material for molding the pottery. Third, it analyzes and develops patterns and forms for urban pottery. Last, it establishes an earthenware learning center founded along the cultural river basin of Phitsanulok. The study finds that water is the significant factor for people’s way of living. Earthenware has been a part of human life since the prehistorical era. This is also the case for Phitsanulok, Thailand. This study’s first step is finding ancient kilns and some good-condition pottery at Bann Na Kai Khea, Nabua sub-district, Nakhorn Thai district. This recovery sheds light on the development of local community products. This development of local community products corresponds financially and strategically to the Greater Mekong Subregion (GMS) project, project and the East-West Economic Corridor (EWEC)”, or R9 pathway, which will connect Phitsanulok to other regions through a highway. This study’s second step is to experiment with and analyze the local materials that can be used to easily form earthenware. An analysis and development of patterns, this study’s third step, results not only in the design of products but also the preservation of the original patterns, which reflect the way of life in the community. In this study’s fourth step, the researcher introduces the findings of the study to the local community. This study also suggests the inclusion of a course in earthenware in the curriculum offered at Bann Na Kai Khea School in order to raise the students’ awareness of the heritage earthenware that is intimately connected to local community and the historical importance of ancient earthenware that belongs to Bann Na Kai Khea, Nabua sub-district, Nakhorn Thai districtPhitsanulok.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account