DSpace Repository

วัฒนธรรมบริโภคแฟชั่นกับการสร้างอัตลักษณ์ทางทัศนศิลป์โดยใช้ยีนส์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิติวรรธน์ สมไทย
dc.contributor.advisor ภานุ สรวยสุวรรณ
dc.contributor.author สุวิชา อาวาส
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:36:11Z
dc.date.available 2023-09-18T07:36:11Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9935
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract วัฒนธรรมบริโภคนิยมของโลกแห่งสัญญะ ซึ่งมีผลต่อการกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ในแง่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างสังคมหรือความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้คนพื้นที่ แต่ละพื้นที่ยีนส์จึงเป็นสินค้าและโครงสร้างของอัตลักษณ์นั้นที่มีความน่าสนใจจากหลายสิ่ง หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการเดินทางในเรื่องราวของบริบทยีนส์ความเปลี่ยนแปลงของพื้นหนึ่งสู่อีกพื้นที่หนึ่งทำให้เกิดบริบทใหม่ ๆ เกิดขึ้น ยีนส์เมื่อถูกส่งต่อผ่านหลากหลายบริบทการเดินทางของตัวมันเองจากจุดเริ่มต้นสินค้า ธรรมดาและราคาถูก ที่คนงานซื้อใส่กันทั่วไปของพวกนี้เมื่อใช้จนเก่ากลายเป็นขยะของมือสอง หรือของทิ้งแต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปโดยผ่านกระบวนการโฆษณาการสร้างมายาคติต่าง ๆ โยกย้ายไปตามภูมิประเทศต่าง ๆ กางเกงยีนส์เหล่านี้จะถูกนำเสนอในลักษณ์ของคุณค่าเชิงมรดกทางวัฒนธรรม อารมณ์ความรู้สึกผูกผันเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในอดีต จากนั้นเมื่อผ่านแรงโฆษณา และสร้างมายาคติในกระแสวัฒนธรรมบริโภควัฒนธรรมมวลชนมันจะได้รับคุณค่าเพิ่มคุณค่าแรก คือยีนส์ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นงานชิ้นเอกของมนุษย์ในเชิงความคิด การออกแบบ และเป็นของเก่าที่แท้จริงคุณค่าอย่างที่สอง คือ คุณค่าฐานะเป็นหลักฐาน เอกสาร ประวัติศาสตร์ ที่บ่งบอกวิถีชีวิตของคนในอดีต ทั้งสองส่วนนำพายีนส์ไปสู่คุณค่าระดับพิพิธภัณฑ์โดยทั้งหมด นอกจากผ่านกาลเวลาแล้วนั้น ยังส่งผ่านต่อพื้นที่หนึ่งไปสู่ยังพื้นที่หนึ่งซึ่งมีความสำคัญมากอีกส่วนหนึ่ง การตีความของยีนส์ยังสร้างแรงดลใจใหม่เพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานมีคุณค่าทางสุนทรีภาพอันเกิดจากความงามผสมผสานจนเกิดเป็นรูปแบบใหม่
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ทัศนศิลป์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subject ยีนส์ (เสื้อผ้า)
dc.subject การออกแบบแฟชั่น
dc.title วัฒนธรรมบริโภคแฟชั่นกับการสร้างอัตลักษณ์ทางทัศนศิลป์โดยใช้ยีนส์
dc.title.alternative Fshion consumerism nd the new visul rts identity of jens
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The consumerism culture of the symbolic world has influenced the directions of relationships, such as social structure, relationship of people, and places. Jeans are interesting as goods and representation of the structure of identity. Not only is the context of jeans gradually developed, but it also change in each region when the new circumstance occurs. When jeans are transferred through various contexts, they transformed from a normally cheap product that workers would wear until torn into second hand materials or even trash. However, when time passes the process of advertising and the creation of myths would transfer to different regions, where jeans are displayed as the symbol of cultural heritage and the yearning of nostalgic moments. With the power of advertisement and the myths of the consumerism trend as well as mass culture, jeans are becoming more valuable. Firstly, they are considered as human’s work which reflect thoughts, designs, and the past. Secondly, jeans are associated as historical evidence that demonstrate the period’s way of life. Both considerations lead jeans to be placed and valued in the museum. Through time and space, the transference of jeans is essential. The interpretation of jeans triggers new inspirations to create art pieces with aesthetic value, from the integration of new form.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account