Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน และค่าความเข้มข้นของแก๊สเอทิลีนออกไซด์ที่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพปอด และอาการของระบบทางเดินหายใจของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยจ่ายกลางของโรงพยาบาลในจังหวัดระยองกลุ่มตัวอย่าง 70 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 90.00 อายุเฉลี่ย เท่ากับ 40.71 ± 9.18 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีประวัติเกี่ยวกับโรคหอบหืดหรือภูมิแพ้ร้อยละ 87.10 โดยมีระยะเวลาการทำงานเฉลี่ยเท่ากับ 1.53 ± 0.737 ปี ในห้องอบฆ่าเชื้อมีระบบระบายอากาศทั่วไป ร้อยละ 88.57 และขณะเข้าห้องอบฆ่าเชื้อผู้ปฏิบัติงานสวมใส่หน้ากากป้องกัน สารเคมีร้อยละ 68.57 ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจร้อยละ 54.29 โดยมีอาการไอมากที่สุดร้อยละ 22.86 สภาพแวดล้อมการทำงานมีความเข้มข้นของแก๊สเอทีลีนออกไซด์มากที่สุดที่ห้องเก็บชิ้นงาน (โรงพยาบาลแห่งที่ 4) 0.696 ppm ค่าเฉลี่ยของการรับสัมผัสแก๊สเอทิลีนออกไซด์ TWA มีค่า 0.051 - 0.100 ppm ร้อยละ72.85 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.086 ± 0.029 ppm และผู้ปฏิบัติงาน พบว่า ส่วนใหญ่มีค่า FEV1 / FVC (%) ปกติร้อยละ 92.86 จากการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพปอด FEV1 / FVC ได้แก่ ปัจจัยด้านการใส่หน้ากากป้องกันสารเคมี(p–value , 0.021) และความเข้มข้นของแก๊สเอทีลีนออกไซด์ในพื้นที่การทำงาน (p–value , 0.002) 2) ปัจจัยที่มีความสัม พันธ์กับอาการมีเสมหะ ได้แก่ ระยะเวลาในการรับสัมผัส (วัน/ปี) (X 2 = 7.938 ,p-value = 0.005) การใช้หน้ากากป้องกัน สารเคมี (X 2 = 3.970, p-value = 0.046) จากผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า ผู้ที่ปฏิบัติงานกับแก๊สเอทิลีนออกไซด์ควรใส่ หน้ากากป้องกันสารเคมีเมื่อปฏิบัติงานกับแก๊สเอทีลีนออกไซด์เพื่อลดการรับสัมผัสกับแก๊สเอทีลนออกไซด์โดยตรงควรจัดให้มีพัดลมระบายอากาศในพื้นที่ห้องอบฆ่าเชื้อที่ใช้แก๊สเอทีลีนออกไซด์ ควรมีการหมุนเวียนผู้ปฏิบัติงานเพื่อลดระยะเวลาการรับสัมผัสของผู้ปฏิบัติงาน และควรมีการเฝ้าระวังทางสุขภาพและมีการตรวจสมรรถภาพของปอดเป็นประจำทุกปี