DSpace Repository

วรรณกรรมท้องถิ่นลุ่มน้ำปากพนัง : ความเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ชุมชนในช่วงปี พ.ศ. 2500-พ.ศ.2560

Show simple item record

dc.contributor.advisor เทพพร มังธานี
dc.contributor.advisor ธนิต โตอดิเทพย์
dc.contributor.author จิรวรรณ พรหมทอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:20:06Z
dc.date.available 2023-09-18T07:20:06Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9851
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง วรรณกรรมท้องถิ่นลุ่มน้ำปากพนัง: ความเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ชุมชนในช่วงปี พ.ศ. 2560 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาในวรรณกรรมเพลงบอก เพื่อสื่อสารภาพลักษณ์ของชุมชนลุ่มน้ำปากพนัง 2. ศึกษาภาพลักษณ์ของชุมชนลุ่มน้ำปากพนังผ่านวรรณกรรมท้องถิ่น ประเภทวรรณกรรมเพลงบอก ในช่วงปี พ.ศ. 2500-พ.ศ. 2560 3. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ชุมชนด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ผ่านวรรณกรรมเพลงบอกลุ่มน้ำปากพนัง ผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะการใช้ภาษาในวรรณกรรมเพลงบอก เพื่อสื่อสารภาพลักษณ์ของชุมชนลุ่มน้ำปากพนัง มี 12 แบบ มีการใช้คำภาษาถิ่น การใช้คำและกลุ่มคำเรียกแทนบุคคล การใช้คำและกลุ่มคำแสดงการแบ่งกลุ่ม การใช้คำยกย่องเทิดทูน การใช้คำเชิงเสียสีประชดประชัน การใช้คำสื่ออารมณ์มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว การใช้คำสื่ออารมณ์สนุกสนาน การใช้คำเรียกสถานที่ การใช้คำซ้อน การใช้คำซ้ำ การใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามและการใช้ปฏิปุจฉา ส่วนการใช้โวหารภาพพจน์ มี 4 แบบ ได้แก่ โวหารอุปมา โวหารอุปลักษณ์ การใช้สัญลักษณ์ และการใช้อติพจน์ 2. ภาพลักษณ์ของชุมชนลุ่มน้ำปากพนังผ่านวรรณกรรมท้องถิ่น ประเภทวรรณกรรมเพลงบอก ในด้านสังคม การเมือง ในช่วงปี พ.ศ. 2500-พ.ศ. 2530 เป็นภาพลักษณ์ของชุมชนบทแบบดั้งเดิมเป็นสังคมแบบพึ่งตนเองเป็นหลัก เป็นสังคมเกษตรกรรม มีความสัมพันธ์กับรัฐน้อย ในด้านเศรษฐกิจ เป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพ ประชาชนส่วนใหญ่มีความยากจน ผลประโยชน์ตกอยู่ในมือนายทุน ในด้านวัฒนธรรม มีความภูมิใจในประเพณี มีความเคร่งครัดในศาสนา ภาพลักษณ์ของชุมชนลุ่มน้ำปากพนังในช่วงปี พ.ศ. 2531-พ.ศ. 2560 ภาพลักษณ์ในด้านสังคม การเมือง พบว่า มีความเป็นเมืองที่มีความทันสมัย การคมนาคมที่สะดวก ความสัมพันธ์ของคนที่เป็นปัจเจกมากขึ้น ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนค่อนข้างดี ระบบนิเวศน์เสียสมดุล ประชาชนมีความตื่นตัวต่อการเมือง ในด้านเศรษฐกิจพบว่า ประชากรมีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจมีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น เกิดการขยายตัวของวัฒนธรรมท้องถิ่น มีสินค้าที่เป็นทุนทางวัฒนธรรม 3. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ชุมชนมีปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน ความคาดหวังต่อผู้นำประเทศ การคมนาคม ปัญหาความขัดแย้ง
dc.language.iso th
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาไทยศึกษา
dc.subject วรรณกรรมไทย (ภาคใต้)
dc.subject วรรณกรรมกับสังคม
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.title วรรณกรรมท้องถิ่นลุ่มน้ำปากพนัง : ความเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ชุมชนในช่วงปี พ.ศ. 2500-พ.ศ.2560
dc.title.alternative Locl literture in pk phnng river bsin: chnges of community imge during 2500- 2560 b.e.
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The research entitled Local Literature in Pak Phanang River Basin: Changes of Community Image during 2500-2560 B.E. was the qualitative study. There were 3 research objectives namely 1. to analysis the language use in literary works of Pleng Bok in terms of its communication to community image of Pak Phanang river basin 2. to study the community image of Pak Phanang river basin through local literature of literary works of Pleng Bok during 2500-2560 B.E. 3. to study factors affecting community image in terms of society, politics, economics, and culture through literary works of Pleng Bok at Pak Phanang river basin. The research results were that 1. there were 12 types of the language use in literary works of Pleng Bok in terms of its communication to community image of Pak Phanang river basin namely the dialect, words and phrases to call people, to classify groups of people, to respect people, for the satire, and to show determined and joyful feelings. Words or phrases were also used for naming places. There were uses of combined words, repeated words, antonym, and rhetorical question. There were 4 types of figures of speech namely simile, metaphor, symbol, and hyperbole. 2. According to the community image of Pak Phanang river basin through local literature of literary works of Pleng Bok in the political society area during 2500 - 2530 B.E., it was found that the traditional community was a self-reliant and agricultural society which was in a distance with the government. In the economic area, their jobs were for living and most people were poor. The benefits fell into the capitalists. In the cultural area, they were proud of their own tradition and religious disciplined. According to the community image of Pak Phanang river basin during 2531-2560 B.E. in terms of the political society, it was found that the city was modern and the transportation was convenient. People were likely individual and active in politics. The relationships between the officials and people got along well. The ecological system was in imbalance. In the economic area, people worked in various fields and there was a strong and prosperous economic community. Local culture was widened out and it initiated local products. 3. The factors affecting changes of community image were from both inside and outside, the expectation towards the country leader, transportation, and the conflicts.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ไทยศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account