DSpace Repository

การพัฒนาพุดดิ้งเป็นอาหารโปรตีนเพื่อสุขภาพจากเนื้อปลาทะเลและถั่วพัลส์

Show simple item record

dc.contributor.author วิชมณี ยืนยงพุทธกาล
dc.contributor.author กุลยา ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์
dc.contributor.author อาภัสรา แสงนาค
dc.contributor.author นิสานารถ กระแสร์ชล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-07-17T06:55:44Z
dc.date.available 2023-07-17T06:55:44Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9283
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาสูตรพุดดิ้งจากเนื้อปลาทะเลและถั่วพัลส์บด จากการศึกษารูปแบบการใช้ถั่วพัลส์บด พบว่า การใช้ถั่วเขียวบดเพียงอย่างเดียวมีความเหมาะสมมากกว่าการใช้รูปแบบถั่วพัลส์ผสมจากการแปรปริมาณเนื้อปลากะพงขาวบด 2.0%-10.0% และแคปปา-คาราจีแนน 0.5%-1.5% ในการผลิตพุดดิ้ง โดยจัดสิ่งทดลองแบบ Central Composite Design ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุ พบว่า สมการของค่า L* a* b* Hardness และ Adhesiveness มีความน่าเชื่อถือ (R2 = 0.999, 0.995, 0.976, 0.973 และ 0.977 ตามล าดับ) ผลการทดลอง พบว่า ปริมาณเนื้อปลากะพงขาวบดและแคปปาคาราจีแนนมีผลต่อค่าสี (L* a* และ b*) เนื้อสัมผัส (Hardness Adhesiveness และ Cohesiveness) รวมทั้งคุณภาพทางประสาทสัมผัส (ความชอบรสชาติความชอบเนื้อสัมผัสขณะตัก ความชอบเนื้อสัมผัสภายในปาก และความชอบโดยรวม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สูตรพุดดิ้งต้นแบบที่เหมาะสมมีส่วนผสมดังนี้ถั่วเขียวบด 50.0% เนื้อปลากะพงขาวบด 10.0% แคปปา-คาราจีแนน 1.0% น้ำตาลทราย 2.0% เกลือ 0.2% และ น้ำ 36.8% ได้รับคะแนนความชอบด้านรสชาติ เนื้อสัมผัสขณะตัก เนื้อสัมผัสภายในปากและความชอบโดยรวมสูงที่สุด (P<0.05) จากการนำพุดดิ้งที่พัฒนาได้มาเก็บรักษาที่อุณหภูมิแช่เย็น (4±2 องศาเซลเซียส) และติดตามคุณภาพระหว่างการเก็บ พบว่า ระยะเวลาการเก็บมีผลต่อค่าสี L* a* b* Hardness Adhesiveness Cohesiveness การแยกตัวของของเหลว รวมทั้งคุณภาพทางประสาทสัมผัส (ด้านความชอบเนื้อสัมผัสขณะตัก ความชอบเนื้อสัมผัสภายในปาก และ ความชอบโดยรวม) (P<0.05) แต่ไม่มีผลต่อปริมาณโปรตีน (P0.05) โดยผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยสำาหรับการบริโภคเมื่อเก็บรักษาไม่เกิน 7 วัน และผลการทดสอบการยอมรับของพุดดิ้งจากเนื้อปลาทะเลและถั่วพัลส์ที่พัฒนาได้ พบว่าคะแนนความชอบด้านลักษณะปรากฏ รสชาติ เนื้อสัมผัสขณะตัก เนื้อสัมผัสภายในปากและความชอบโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P≥0.05) โดยคะแนนความชอบโดยรวมอยู่ในระดับชอบปานกลาง th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject อาหารเพื่อสุขภาพ th_TH
dc.subject พุดดิ้ง th_TH
dc.title การพัฒนาพุดดิ้งเป็นอาหารโปรตีนเพื่อสุขภาพจากเนื้อปลาทะเลและถั่วพัลส์ th_TH
dc.title.alternative Development of Pudding as Protein Functional Food from Marine Fish Meat and Pulses en
dc.type Research th_TH
dc.author.email wich@buu.ac.th th_TH
dc.author.email kullaya@buu.ac.th th_TH
dc.author.email nisanart@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative The objective of this research was to developed puddings which formulate from marine fish meat and mashed pulses. Mashed pulses in different portion were carried out. The results showed that using mashed mung bean alone was more appropriate than mixed bean. The amount of White Sea Bass mince 2.0%-10.0% and kappa-carrageenan 0.5%-1.5% for pudding production were varied using Central Composite Design. The result of multiple regression analysis found that the equation of L* a* b* Hardness and Adhesiveness were satisfied (R2= 0.999, 0.995, 0.976, 0.973 and 0.977 respectively). The result showed that the White Sea Bass and kappa-carrageenan content effected on color (L* a* and b*) texture (hardness, adhesiveness and cohesiveness) as well as sensory qualities (liking in terms of taste, spoon texture, mouth feel texture and overall liking) (P<0.05). The optimum formula composed with 50.0% mashed mung bean, 10.0% minced White Sea Bass, 1.0% kappa-carrageenan, 2.0% sugar, 0.2% salt and 36.8% water which received the highest score in terms of taste, spoon texture, mouth feel texture and overall liking (P<0.05). The developed pudding was stored at chilled temperature (4±2◦C) and pudding qualities were monitored. It was found that storage time effected on L*, a*, b*, hardness, adhesiveness, cohesiveness, syneresis as well as sensory qualities (liking in terms of spoon texture, mouth feel texture and overall liking) (P<0.05). Include quality sensory attributes of texture while ladling, texture in mouth and overall liking (P<0.05) but did not effected on protein content (P0.05). The developed product was safe for consume during storage for 7 days. The results from sensory evaluation of developed pudding product showed overall liking score were in moderately like level. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account