Abstract:
การศึกษาเรื่อง “ศักยภาพและทิศทางการพัฒนาสังคมสูงอายุในเขตเมืองภาคตะวันออก”
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างทางสังคมของผู้สูงอายุ ศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุ และแนวโน้มของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุในพื้นที่เมือง จังหวัดชลบุรี
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเชิงโครงสร้างทางสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการดำเนินทางนโยบายที่มาจากหน่วยงานภาครัฐ กระทรวงที่มีบทบาทหลักในการพัฒนาสังคมผู้สูงอายุ ได้แก่ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติงานผ่านยุทธศาสตร์ที่ถูกกำหนดขึ้น สู่การสร้างกลไกเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุในท้องถิ่น ได้แก่ ชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มอาสาสมัคร กองทุนสวัสดิการ โครงการพัฒนาผู้สูงอายุ เช่น การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
ขณะที่ความพร้อมของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นไม่เท่ากันส่งผลให้แต่ละพื้นมีระดับความพร้อมที่
ค่อนข้างแตกต่างกันไป แนวโน้มของการจัดการเพื่อเตรียมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุยังต้องประสบปัญหา
อีกหลากหลาย ได้แก่ ความไม่ชัดเจนของการนิยามเพื่อจำแนกผู้สูงอายุ ซ้ำซ้อนเชิงนโยบาย, เบี้ย
ผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนค่อนข้างต่ำไม่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต, การพิจารณาถึงงบประมาณที่จะใช้ใน
การจัดการสังคมสูงอายุที่ยาวขึ้น, การประสานงานเชิงนโยบายระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับ
หน่วยงานท้องถิ่น